วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Pearl Harbar

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวายในสหรัฐอเมริกา ช่วงเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในการโจมตีนี้สร้างความเสียหายแก่ฝ่ายกองทัพสหรัฐอเมริกามาก
ในวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเริ่มลงมือด้วยการซ่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินแล้วเข้าใกล้อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ให้ได้มากที่สุดแล้วนำเครื่องบินบินต่ำหลบคลื่นเรดาร์ อเมริกาตรวจพบเครื่องบิน400 ลำ กำลังเข้าเกาะ ปรากฏว่าทหารอเมริกาคิดว่าเป็นเครื่องบินของตนบินกลับมาจากจีน เครื่องบินของกองทัพญี่ปุ่นยิ่งเข้าใกล้เกาะขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ทหารเรืออเมริกากำลังตกปลาอยู่  การโจมตีครั้งนี้จึงเกิดขึ้นโดยฝ่ายสหรัฐไม่ทันได้ตั้งตัว และจำต้องป้องกันตัวเองอย่างฉุกละหุก โดยการโจมตีจากญี่ปุ่นมีมาสองระลอก จากทั้งทางอากาศและทางน้ำ การโจมตีระลอกแรก เริ่มขึ้นก่อน 8 นาฬิกาของวันที่ 7 ธันวาคมเพียงเล็กน้อย และระลอกที่สองก็ตามมาอีกหนึ่งชั่วโมงให้หลัง
เพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของความขัดแย้งครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งแผนการรบทั้งหมดคิดโดย นายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต

สารคดี ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดที่ Pearl Harbar



วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาประชากร 2

ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  1. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์
  2. สิ่งแวดล้อมไม่ดีก่อให้เกิดแนวโน้ม หรือพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไปในทางไม่พึ่งปรารถนา
  3. การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่่น การทำลายป่าก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น ผนไม่ตก แห้งแล้ง อากาศเป็นพิษ เป็นต้น
  4. อิทธิพลของนักการเมืองและความไม่ซื่อตรงของเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในหลายลักษณะ
  5. โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย ควันที่เป็นพิษจากโรงงานน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงาน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของเจ้าของโรงงาน
  6. การไม่รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การทิ้งสิ่งปฎิกูลลงในแม่น้ำ การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
ปัญหาทางการเมือง
  1. ประชาชนสนใจการเมืองน้อยลงมาก เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนมีคนไปออกเสียงลงคะแนนน้อยลง
  2. การแก่งแย่งเป็นใหญ่ในทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับ
  3. ความวุ่นวายเกิดขึ้นกับข้าราชการประจำ เพราะอิทธิพลของนักการเมืองที่ขาดกฎเกณฑ์และไร้ระเบียบจรรยาบรรณ
  4. ความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย การไม่ยอมรับเหตุผลในการอภิปรายและการตัดสินใจ
  5. การกระจายอำนาจการปกครองไปยังส่วนต่างๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร ขาดมาตรการควบคุมที่ดี
  6. การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง

          http://www.oknation.net/blog/kanis/2009/11/04/entry-1
          อ.น้ำผึ้ง ท่าคล่อง รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์,2556