วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ส.ส. คืออะไร?

.. ย่อมาจากคำว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  
      

     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ .คือ เป็นตัวแทนของประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา
     ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็น รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 375 คน และรูปแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 125 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ อายุของสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
 
คุณสมบัติ
  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
  4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  • เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
  • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
  • เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
  • ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (4) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
  • คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ลักษณะต้องห้าม
  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 100 (1) (2) หรือ (4)
  4. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  5. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  6. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  7. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  8. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
  9. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  10. เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกินสองปี
  11. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  12. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  13. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263
  14. เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่
  1. บทบาทในสภา
  2. อำนาจในการตรากฎหมาย
     การตราพระราชบัญญัติ คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย

      1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  • ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
  • การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  • ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อความไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้ามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป ในกรณีที่วินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้นเป็นอันตกไป
     2) พระราชบัญญัติ
  • ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน โดยไม่ต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้
  • ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน
  • การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
  • ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป



ที่มา :http://www.parliament.go.th  สภาผู้แทนราษฎร
            http://news.voicetv.co.th/

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นักการเมือง

     นักการเมือง(politician) (ภาษากรีก "polis")

     
นักการเมืองหรือผู้ปฏิบัติงานทางการเมือง คือ บุคคลผู้อาสาเข้าทำงานเพื่อรับใช้ประชาชนและประเทศชาติในด้านกิจกรรมทางการเมือง เพื่อยังความยุติธรรมและสันติให้แก่สังคมและพิทักษ์ผลประโยชน์พร้อมกับยังความสมบูรณ์พูลสุขให้แก่ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยยึดอุดมคติว่า "เสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม"  และ  "เหนือสิ่งอื่นใดคือชาติและเหนือชาติคือมนุษยชาติ" ซึ่งรวมถึงตำแหน่งรัฐมนตรี,สมาชิกรัฐสภาที่ได้อำราจมาจาก การเลือกตั้ง รัฐประหาร การเลือกตั้งฉ้อโกง หรือวิธีการอื่นๆ
       
     นักการเมืองที่ดีควรมีคุณสมบัติ 5 ประการดังต่อไปนี้
     
     ประการแรก  นักการเมืองผู้นั้นต้องมีความผูกพันทางอุดมการณ์ (Ideological Commitment) โดยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีความเชื่อและศรัทธาในระบบประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย และต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นกรรมวิธี (means) เพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่าง และขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่มีเป้าหมายบั้นปลาย (end) ที่มีคุณค่าในตัวของมันเองนักการเมืองที่ดีจึงเป็นนักการเมืองที่ปฏิบัติตามกรอบกติกาเพื่อรักษาไว้ซึ่งกระบวนการประชาธิปไตย โดยไม่ตะแบงละเมิด
     
     ประการที่สอง  นักการเมืองที่ดีจะต้องมีจริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics) ในขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองมักจะรวมจริยธรรมอยู่ด้วยแต่จริยธรรมทางการเมืองอาจจะเป็นรายละ เอียดที่อยู่นอกกรอบอุดมการณ์ทางการเมืองซึ่งเป็นกรอบใหญ่ประเด็นเรื่องจริยธรรมทางการเมืองจะ เกี่ยวข้องกับความถูกต้องตามกฎหมาย ความชอบธรรมทางการเมือง และความน่าเชื่อถือรวมทั้งศรัทธา การกระทำอันใดก็ตามถึงแม้จะถูกต้องตามกฎหมายจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงถ้าเกิดผลเสียตามมา จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติ ในขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองจะทำ หน้าที่เสมือนจิตวิญญาณของระบบการเมืองในภาพรวม 
     
      ประการที่สาม  นักการเมืองที่ประสบความสำเร็จในฐานะนักการเมืองที่ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสังคม ไม่ว่าจะในฐานะสมาชิกรัฐสภาหรือรัฐมนตรีจะต้องมีความรู้ทางการเมือง(Political Knowledge) ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้คือความรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีวิชาหนึ่งวิชาที่เริ่มต้น ในอังกฤษเป็นที่ทราบกันว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาการเมือง ความรู้เกี่ยวกับการเมือง และ เศรษฐศาสตร์  หรือที่เรียกว่า PPE (Philosophy, Politics and Economics) วิชาดังกล่าวนี้ มีแนวคิดที่ว่า การบริหารประเทศนั้นจะต้องกระทำโดยบุคคลที่มีความรู้ทางการเมือง อันรวมถึงความรู้ ทางสังคมด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจ ทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและ ระหว่างประเทศ แต่ที่สำคัญจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องปรัชญาทางการเมือง ซึ่งปรัชญาทางการเมือง นั้นจะรวมทั้งอุดมการณ์และจริยธรรมเพื่อเป็นเครื่องชี้นำในการปฏิบัติ นักการเมืองที่มีความรู้ครึ่งๆกลางๆ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดเนื่องจากขาดข้อมูลและความรู้ที่ สำคัญขาดอุดมการณ์ที่จะเป็นเครื่องชี้นำ

     ประการที่สี่  นักการเมืองที่ดีจะต้องมีประสาทสัมผัสทางการเมือง (Political Sense) ความสามารถในการเข้าใจนัยสำคัญทางการเมืองอันเกิดจากเหตุการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะส่งผลในทางลบหรือทางบวกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการอ่านสถานการณ์ ทางการเมืองที่ผิดพลาดอาจจะนำไปสู่ความสูญเสียอย่างมหาศาล กระบวนการทางการเมืองที่เริ่มต้น จากคนเพียงคนเดียวที่ดูเหมือนไม่สำคัญเนื่องจากการอ่านสถานการณ์ที่ผิดพลาด อาจจะนำไปสู่ การขยายขอบข่ายอย่างกว้างขวาง เป็นผลร้ายทางการเมืองได้  ดังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
     
     ประการที่ห้า  นักการเมืองที่ดีคือนักการเมืองที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ทางการเมือง (Political Mood) ของสังคม  การขาดความเข้าใจอารมณ์ทางการเมืองของสังคม จะนำไปสู่ความ เสียหายทางการเมืองอย่างหนักอารมณ์ทางการเมือง สามารถจะกระตุ้นปลุกเร้าให้เกิด ขึ้นโดยขบวนการทางการเมือง ความไม่เข้าใจอารมณ์ทางการเมืองย่อมบ่งชี้ถึงการขาดประสาท สัมผัสทางการเมือง เพราะทั้งสองส่วนนี้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น
     
     คุณสมบัติทั้งห้าประการดังกล่าวมานั้นเป็นคุณสมบัติของนักการเมืองที่ดีและประสบความสำเร็ว ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรัฐบุรุษด้วย เพราะการเป็นรัฐบุรุษจะต้องเริ่มต้นจากการ เป็นนักการเมืองที่ดี  นักการเมืองที่ดีและประสบความสำเร็จไม่จำกัด เฉพาะผู้ที่สามารถชนะ การเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงเท่านั้น แต่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษอันเป็นที่ยอมรับ ของ คนทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  เสียสละ  ซื่อสัตย์  สุจริต  มีความเป็นผู้นำ ที่สง่างามน่าเชื่อถือ  เปี่ยมด้วยบารมี  มีอุดมการณ์และจริยธรรมที่ดีจนเป็นแบบอย่างสำหรับคนทั่วไปได้
(ศ.ดร.ลิขิต  ธีรเวคิน  ราชบัณฑิต)

แนะนำเจ้าของบล๊อก

สวัสดีค่ะ

ชื่อ ลูกน้ำ
รหัสนักศึกษา 54141352++
คณะครุศาสตร์ ภาควิชา สังคมศึกษา ปี 4
เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนาพุทธ
คติประจำใจ ก้าวต่อไปด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่น


E-mail : Looknum1992@gmail.com
Facebook : Looknum Aurapin
Twitter : @0430onyes
Line : Looknum-jwy