วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาประชากร 1


ปัญหาเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ
  1. ประชากรขาดการศึกษาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อปรับปรุงและเพิมผลผลิตทางการเกษตร
  2. ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวใหญ่เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 6 คน ทำให้ไม่สามารถเก็บออมได้
  3. คนว่างงานเพิ่มมากขึ้นเพราะการเกิดมาก แต่มีงานจำกัด ก่อให้เกิดการว่างงานและแย่งงาน เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจ
  4. ขนาดที่ดินทำกินมีขนาดลดลง เพราะเด็กเกิดมาก
  5. วัยทำงานมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในการเลี้ยงดู
  6. การอุปโภคบริโภคภายในประเทศมีสูงขึ้น ทำให้การส่งสินค้าออกลดน้อยลง ต้องสั่งสินค้าเข้าเิ่พิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเสียดุลการค้า
  7. อิทธิพลของระบบการเมืองต่อเศษฐกิจ ก่อให้เกิดการคอร์รัปชั่น
ปัญหาการศึกษา
  1. คุณภาพของครูอาจารย์จำนวนมากยังไม่ดีพอ ทั้งในลักษณะทางวิชาการ การสอน และสังคม
  2. การกระจายครูอาจารย์ที่มีคุณภาพดีไม่ทั่วถึง ไม่มีสัดส่วน ครูที่ดีมักจะสอนในเมืองที่มีความเจริญมีสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว
  3. นักเรียนออกจากโรงเรียนกลางคัน เช่น สอบตก ออกไปช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพ ทำให้เด็กส่วนหนึ่งไม่ได้เล่าเรียนดีเท่าที่รัฐมีกฎหมายบังคับ
  4. อิทธิำพลของการเมืองต่อระบบการศึกษา ทำให้การศึกษาเปลี่ยนทิศทาง
ปัญหาสังคม
  1. แหล่งสังคมเสื่อมโทรมในสังคมเมือง เช่น ในกรุงเทพฯ ก่อให้เกิดการไร้การศึกษา อาชญากรรม และขาดศีลธรรม
  2. การบริการทางการแพทย์ สาธารณสุข ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ขากมาตรฐาน และ ไม่เพียงพอ ต่อการเพิ่มขึ้นของประชากร
  3. การย้ายถิ่นเข้ามาทำกินในเมือง ก่อให้เกิดปัญหาการหลอกหลวง สุขภาพ การศึกษาของบุตร การทำงานหนักเกินไป
  4. การไม่เคร่งในการเคราพกฎหมาย เพราะต้องทำงานแข่งเวลา
  5. เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี การเงินไม่ดี แต่มนุษย์จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ มนุษย์จึงทำทุกอย่างเพื่อนให้ได้เงินมาดำรงชีวิต ปัญหาต่างๆจึงเกิดมานานัปการ
  6. การขาดหลักประกันทางสังคม เช่น การประกันทางสุขภาพ
  7. ปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยยิ่งรวยขึ้น ส่วนคนจนยิ่งจนลงก่อให้เกิดการแตกแยกและเกิดการแบ่งชนชั้นขึ้น

ที่มา : อ.น้ำผึ้ง ท่าคล่อง รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์,2556


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาจราจร

 สาเหตุของปัญหา
  1. สภาพและลักษณะของถนน        
    ภาพจาก www.matichon.co.th
  2. ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่เพียงพอ
  3. การปฎิบัติผิดกฎหมายของผู้ใช้รถใช้ถนน
  4. คุณภาพรถจำนวนมากต่ำกว่ามาตรฐาน
  5. พ่อค้าแม่ค้ากีดขวางทางจราจร
  6. ยานพาหนะมีจำนวนมากขึ้น
  7. เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
  8. ความรีบเร่งในการใช้ถนน
  9. ขาดคุณธรรม จริธรรม 

สถานการณ์ปัจจุบัน
  1. ถนนชำรุด ขรุขระไม่สะดวก
  2. ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้
  3. จราจรติดขัดในชุมชนเมือง
  4. ไม่เคราพกฎจราจร
    ภาพจาก www.thairath.co.th
  5. จอดรถกีดขวางทางจราจร
  6. มีอุบัติเหตุเกินขึ้น
  7. ประชากรเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  8. การเร่งรีบในการใช้ถถนของแต่ละคน
  9. การขับรถย้อนศร
  10. ไม่มีน้ำใจในการขับรถ
 แนวทางในการแก้ไขปัญหา
  1. ซ่อมแซมหรือปรับปรุงถนนให้ดีขึ้น
  2. เพิ่มพื้นที่ถนนให้มากขึ้น
  3. กวดขันวินัยการจราจร
  4. สนับสนุนการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  5. ติดตั้งกล้อง CCTV เฝ้าติดตามดูสถานการณ์การจราจร
  6. ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น
    ขอบคุณภาพจาก www.tv5.co.th
  7. ส่งเสริมการใช้รถจักรยาน 
  8. ส่งเสริมการเข้าอบรบวินัยจราจร
  9. ส่งเสริมมารยาทในการใช้รถใช้ถนน
  10. จัดระบบการขนส่งมวลชนให้มีคุณภาพ





วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาความยากจน

สาเหตุ
  1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
  2. การศึกษา เช่น การศึกษาต่ำ ไร้การศึกษา
  3. รายได้ต่ำ
  4. การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  5. มีอาชีพรายได้ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน เช่น กรรมกร รับจ้าง
  6. มีบุตรมากเกินไป
  7. การว่างงาน
  8. พื้นฐานจากนิสัย เช่น เกียจคร้าน ไม่มีความอดทน
  9. ขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี
สถานการณ์ปัจจุบัน
  1. คนจนเพิ่มมากขึ้น
  2. คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น
  3. เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวของแพง
  4. การจัดสรรที่ทำกินไม่เพียงพอต่อประชาชน
  5. รายจ่ายมากกว่ารายได้
  6. ขาดการวางแผนครอบครัว
  7. ใช้เทคโนโลยีมากกว่าใช้แรงงานคน
  8. ประชาชนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น
  9. กู้เงินนอกระบบ
  10. ปัญหาความยากจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาขอทาน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
  1. พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญและมั่นคง
  2. พัฒนาคุณภาพประชากร
  3. สร้างงานในชุมชน
  4. ฝึกอาชีพให้กับประชาชน
  5. การวางแผนครอบครัว
  6. การทำบัญชีครัวเรือน
  7. ขยายโอกาสให้เข้ารับการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ
  8. ภาครัฐและเอกชนเข้ามาแก้ไขและช่วยเหลือร่วมกัน
  9. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
  10. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา : อ.น้ำผึ้ง ท่าคล่อง รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์,2556

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การปฏิวัติและรัฐประหาร

      การปฏิวัติ (revolution) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม

      รัฐประหาร หรือ การรัฐประหาร (ฝรั่งเศสcoup d'état กูเดตา) หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นการก่อรัฐประหาร โดยในวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ
     
     นิยาม
     คณะรัฐประหารของไทยที่ก่อการสำเร็จ มักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้น เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงครั้งเดียว จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2475 แต่ความเห็นอีกด้านหนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างการปฏิวัติกับการรัฐประหาร เนื่องจากมีการใช้กำลังทหาร ในการควบคุมบังคับ เพื่อระงับอำนาจของรัฐบาล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
     ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ ล้วนแต่มาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือเคยพยายามก่อรัฐประหารมาแล้ว ในกรณีกบฏวังหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2492 และกบฏแมนฮัตตัน เมื่อปีพ.ศ. 2494 แต่กระทำการไม่สำเร็จ แล้วหลังจากนั้น ทหารเรือก็เสียอำนาจในการเมืองไทยไป




ที่มา : http://www.sisakettoday.com รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
        : ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ ,วันที่ 1 ตุลาคม 2549

ส.ว. คือใคร มีหน้าที่อะไร

     สมาชิกวุฒิสภา หรือ .. ทั้งประเทศมีจำนวน 150 คน ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 6 ปี โดยห้ามเป็น 2 วาระติดต่อกัน มีที่มา 2 แบบ คือ มาจากการเลือกตั้ง และการสรรหา      
      
     ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง มีจำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละ จังหวัดๆ ละ 1 คน  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนน เลือกผู้สมัครได้เพียงหมายเลขเดียว ผู้ที่ได้รับคะแนน สูงสุด จะได้รับเลือกเป็น .. ของแต่ละจังหวัด 

     ส.ว.ที่มาจากการสรรหา  มีจำนวน 74 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจะดำเนินการสรรหา .. จำนวนดังกล่าวจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา

อำนาจหน้าที่ของ ..
      1. การกลั่นกรองกฎหมาย 
..มีอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมายโดยสามารถแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภา
ผู้แทนราษฎรได้ เพื่อให้การออกกฎหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบ รัดกุม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
     2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน 
หน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีหรือตั้งคณะกรรมาธิการไปศึกษา
งานด้านต่างๆให้มีการตรวจสอบฝ่ายบริหารเพื่อให้มีข้อสังเกตคำแนะนำและกระตุ้นเตือนรัฐบาลรวมทั้ง
การแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล
      3. การเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ
 กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ให้วุฒิสภา ทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆโดยเฉพาะองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น     คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
     4. การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง 
วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ดำรง ตำแหน่งระดับสูงทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

 คุณสมบัติของผู้สมัคร ..
  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  5. เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
  6. เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
  7. เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
  8. เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่ น้อยกว่าสองปี 
มาตรา126 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
  1. เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
  2. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  3. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
มาตรา 109 ใครที่มีลักษณะอย่างนี้ ห้ามมาสมัคร
  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
  3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 106 (1)(2) หรือ (4) 
     มาตรา 106 ใครที่มีลักษณะอย่างนี้ ห้ามมาสมัคร
  1. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  2. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  3. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา 109 (ต่อ)
  1. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  2. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
  3. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  4. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  5. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
  6. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  7. เป็นสมาชิกวุฒิสภา
  8. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  9. เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  10. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 295
  11. เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง
ที่มา : http://www.senate.go.th