รัฐประหาร หรือ การรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นการก่อรัฐประหาร โดยในวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ
นิยาม
คณะรัฐประหารของไทยที่ก่อการสำเร็จ มักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า
"คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก
อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้น
เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงครั้งเดียว จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional
Monarchy) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2475 แต่ความเห็นอีกด้านหนึ่งกล่าวว่า
เหตุการณ์ดังกล่าวมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างการปฏิวัติกับการรัฐประหาร
เนื่องจากมีการใช้กำลังทหาร ในการควบคุมบังคับ เพื่อระงับอำนาจของรัฐบาล
ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ
ล้วนแต่มาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือเคยพยายามก่อรัฐประหารมาแล้ว
ในกรณีกบฏวังหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2492 และกบฏแมนฮัตตัน เมื่อปีพ.ศ. 2494 แต่กระทำการไม่สำเร็จ
แล้วหลังจากนั้น ทหารเรือก็เสียอำนาจในการเมืองไทยไป
ที่มา : http://www.sisakettoday.com รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
: ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ ,วันที่ 1 ตุลาคม 2549
: ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ ,วันที่ 1 ตุลาคม 2549
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น