วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสังเกต (Observaton)
เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลอย่าหนึ่งที่นักวิจัยเชิงคุณภาพนิยมกัน
ประเภทของการสังเกต
                   1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  (Participant Observation) ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชน หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ทำการศึกษา
                  2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation)การสังเกตที่ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตอยู่วงนอกไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ทำการศึกษา
การสังเกตการณ์ แบ่งได้ 3 ชนิด
            1. การสังเกตอย่างมีโครงสร้าง ผู้ศึกษามีการเตรียมสิ่งที่ต้องการสังเกตเอาไว้
2. การสังเกตอย่างไม่มีโครงสร้าง เป็นสังเกตการณ์ที่ผู้ศึกษาได้เตรียมวัตถุประสงค์ของการสังเกตการณ์ไว้ล่วงหน้า
3. การสังเกตการณ์ในห้องปฏิบัติการณ์เป็นการสังเกตในสถานการณ์ที่ผู้สังเกตการศึกษาได้กำหนดไว้ 

       อาจใช้วิธีการสังเกตผ่านห้องกระจกมองเห็นด้านเดียวเพื่อมิให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว
อุปสรรคในการสังเกต
1. การเข้าถึงผู้ที่จะถูกสังเกต
2. โอกาสที่จะสังเกต
3. ลำดับความสำคัญของเหตุการณ์
4. การจดบันทึกข้อมูล

ข้อดีและข้อจำกัดในการสังเกตการณ์

ข้อดีในการสังเกตการณ์
                 1. สามรถสังเกตการณ์หรือบันทึกพฤติกรรมได้ทันที่ที่เกิดขึ้น
                 2. สามรถได้ข้อมูลที่แน่นอนและตรงกับสภาวการณ์จริงของพฤติกรรมนั้น
                 3. สามารถดำเนินการเก็บข้อมูลได้มากกว่าวิธีอื่นในกรณีเกิดความไม่เต็มใจจะให้ข้อมูลจากบุคคลหรือกลุ่มคน

ข้อจำกัดในการสังเกตการณ์
                 1.ไม่มาสามรถที่จะทำนายได้อย่าแน่ชัดว่าเหตุการณ์หนึ่งๆจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อใดจึงจะสังเกตการได้ทัน

                 2. มีปัญหาด้านปัจจัยสอดแทรกที่ไม่มีคาดคิดมาก่อน เช่น  การจราจร การจลาจล ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ฯลฯ

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การสัมภาษณ์ (INTERVIEW)

การสัมภาษณ์ (INTERVIEW)     การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาซักถามอย่างมีจุดหมาย เพื่อให้ได้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จะช่วยอธิบายสิ่งที่พบเห็นหรือสังเกตได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงสร้างของคำถามและสามารถช่วยควบคุมทิศทางโครงสร้างของเนื้อหาให้เป็นเรื่องที่ต้องการทราบหรือปัญหาในการศึกษา 
ลักษณะการสัมภาษณ์                     
1. ผู้สัมภาษณ์                                  
2. ผู้ให้สัมภาษณ์
ประเภทของการสัมภาษณ์
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา  อาจแบ่งอกเป็น 4 ประเภท      
-การสัมภาษณ์แบบเจาะจง      
-การสัมภาษณ์ที่ไม่กำหนดคำตอบล่วงหน้า      
-การสัมภาษณ์แบบลึกซึ่ง      
-การสัมภาษณ์ซ้ำ
2.การแบ่งตามเทคนิคการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท      
-การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง      
-การสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้าง      
-การสัมภาษณ์แบบกึ่งสัมภาษณ์
ขั้นตอนการสัมภาษณ์     
1.การเตรียมการสัมภาษณ์     
2.ขั้นตอนเริ่มสัมภาษณ์     
3.ขั้นการสัมภาษณ์     
4.สิ้นสุดการสัมภาษณ์
เทคนิคการสัมภาษณ์     
1. กำหนดหลักการว่าใครเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์     
2. แนะนำตัวว่ามาจากที่ไหน มาทำอะไร วัตถุประสงค์
3. ทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่าข้อมูลถูกสัมภาษณ์มีความน่าสนใจ     
4. สร้างความประทับใจแก่ผู้สัมภาษณ์     
5. ใช้ภาษาที่ง่ายแก่การสัมภาษณ์/ตั้งคำถามอย่างเป็นทางการ     
6. ควรถามเป็นเรื่องๆเพื่อให้แนวคิดของผู้ตอบต่อเนื่อง     
7. พยายามสัมภาษณ์ในโอกาสแรกที่ติดต่อ    
8. สัมภาษณ์ให้สลบและสบาย     
9. ควรใช้ระยะเวลาในกรสัมภาษณ์ที่เหมาะ ไม่นานเกินไป
10. ไม่ควรมีบุคคลอื่นในที่สัมภาษณ์     
11. ผู้วิจัยควรเรียนรู้ภาษาถิ่น     
12. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการสัมภาษณ์     
13. กล่าวคำขอบคุณในการสัมภาษณ์เมื่อสิ้นสุด
จรรยาบรรณในการสัมภาษณ์     
1. ชี้แจ้งว่าการสัมภาษณ์เป็นความลับ     
2. เอาใจใส่กับคำพูดและไม่แสดงท่าทีดูถูกผู้ให้สัมภาษณ์     
3. เคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์
4. ควรวางตัวเป็นกลาง
ข้อดีและข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ 
ข้อดีของการสัมภาษณ์
ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์
       1.  ผู้สัมภาษณ์มีโอกาสได้สังเกตและศึกษาสภาพการณ์ ตลอดจนปฎิกิริยาต่างๆที่เกี่ยวข้อง
1. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
       2. ให้คำตอบที่แน่ชัด สมบูรณ์ เพราะสามารถอธิบายข้อสงสัยต่างๆให้แก่ผู้ตอบได้
2. มีปัญหาเกี่ยวกับการฝึกให้คำแนะนำผู้ที่ออกไปสัมภาษณ์ การติดตามและควบคุมกรสัมภาษณ์
        3. สามารถเก็บข้อมูลได้ แม้ผู้ตอบจะมีการศึกษาต่ำหือเป็นผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
3. จะมีอคติหรือความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์
        4. โอกาสที่ได้ข้อมลสูงมากเพราะผู้ตอบส่วนใหญ่ยินดีให้ความร่วมมือ
4. ต้องใช้เวลาและแรงงานมาก
                   

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

บ้านป่าไม้พัฒนา

บ้านป่าไม้พัฒนา หมู่ที่ 7 เทศบาลตำบลหนองหญ้าลาด อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

ประวัติหมู่บ้าน
ประวัติบ้านป่าไม้พัฒนา
                บ้านป่าไม้พัฒนาตั้งอยู่ที่ ถนนศรีสะเกษกันทรลักษ์ เทศบาลตำบลหนองหญ้าลาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33110
                จากการสอบถามทราบว่า อดีตบ้านป่าไม้พัฒนาเป็นดงป่าใหญ่ มีพืชพรรณไม้นานาชนิด อยู่ในเขตอนุรักษ์ป่าไม้ (ที่สาธารณะประโยชน์)อยู่ในกลางเมืองอำเภอกันทรลักษ์ เดิมผู้คนอพยพมาจากตำบลเสาธงชัย ตอนเขมรสองฝ่ายปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ชาวบ้านได้ถอยเข้ามาบุกรุกเขตพื้นที่อนุรักษ์กรมป่าไม้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการประกอบอาชีพส่วนหนึ่ง ปัจจุบัน บ้านป่าไม้พัฒนาแบ่งเป็น 2 หมู่บ้าน คือ บ้านป่าไม้พัฒนา หมู่ 7 และบ้านป่าไม้พัฒนาใต้ หมู่ 14 (เทศบาลเมืองกันทรลักษ์) ประชาชนที่อาศัยอยู่ส่วนมากเป็นคนต่างจังหวัดเข้ามาซื้อที่ตั้งหลักปักฐานได้สืบทอดเป็นรุ่นต่อรุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้

อาณาเขตและที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดกับกรมป่าไม้ อำเภอกันทรลักษ์ และเทศบาลเมืองกันทรลักษ์
ทิศตะวันออก ติดกับชุมชนป่าไม้พัฒนาใต้ หมู่14 เทศบาลเมืองกันทรลักษ์
ทิศตะวันตก ติดกับกรมทางหลวง บ้านกระบี่ และเทศบาลตำบลหนองหญ้าลาด
ทิศใต้ ติดกับตลาดเมืองทอง และบ้านเขวา ตำกระแซง

อาชีพ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม รับราชการ ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป โดยทำเกษตรแบบยังชีพและค้าขาย เช่น ปลูกยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง ตะไคร้ ทุเรียน มะม่วงน้ำดอกไม้ มะขามหวานและทำนาข้าว
สินค้าหัตถกรรมประจำหมู่บ้าน ได้แก่ สานกระติบข้าว เทียนหอม ทอผ้าไหม ทอเสื่อ
อาหารขึ้นชื่อประจำอำเภอ คือ ไก่ย่างไม้มะดัน ไก่ยางอบสมุนไพร ไก่ย่างส้มตำเมืองกันทร์
ประเพณีวัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีบุญข้าวสาก ฮีตสิบสองคลองสิบสี่  ประเพณีผีแถน-แม่มด
ประเพณีเลี้ยงปู่ตา ในเดือนสามของทุกปี


รางวัลและเกียรติยศ  
พ.ศ.2540 รับธงหมู่บ้านปลอดยาเสพติดจากรัฐบาล
พ.ศ.2540 รับรางวัลหมู่บ้านดีเด่นปลอดยาเสพติดอำเภอกันทรลักษ์ จากพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก
อธิบดีกรมตำรวจ
พ.ศ.2542 นายนพพล หอมสนิท ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นระดับประเทศ
พ.ศ.2554 ได้รับคัดเลือกให้ได้รับกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ)
จำนวน 8,000 บาท
พ.ศ.2555 ได้รับคัดเลือกให้ได้รับกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ)
ครั้งที่ 2  จำนวน20,000 บาท


















วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเทศไทยกับอาเซียน

       
     
          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2510 มีพัฒนาการมาเป็นลำดับและไทยก็มีบทบาทสำ คัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างมลายาและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกมาจากมลายา และได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรีอันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น “บ้านเกิด” ของอาเซียน
          ต่อมาอาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 ในปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ทยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีไทยเป็นจุดศูนย์กลาง ถึงแม้ว่าปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวงและช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิก อาเซียนดัง้ เดิมในการแก้ไขปัญหากัมพชู า รวมทัง้ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยที่เป็นประเทศด่านหน้า


          นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยอดีตนายกรัฐมนตรีนายอานันท์ปันยารชุน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยอาเซียนตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551
          ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้างประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำ กฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน
          มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎบัตรอาเซียน ได้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ - หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในทั้ง 3 เสาหลัก คือประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจและประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558



ที่มา : ประเทศไทยกับอาเซียน.สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ.กรมประชาสัมพันธ์.เมษายน,2555