การสังเกต (Observaton)
เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลอย่าหนึ่งที่นักวิจัยเชิงคุณภาพนิยมกัน
ประเภทของการสังเกต
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชน
หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ทำการศึกษา
2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation)การสังเกตที่ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตอยู่วงนอกไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ทำการศึกษา
การสังเกตการณ์ แบ่งได้ 3 ชนิด
1. การสังเกตอย่างมีโครงสร้าง ผู้ศึกษามีการเตรียมสิ่งที่ต้องการสังเกตเอาไว้
2. การสังเกตอย่างไม่มีโครงสร้าง เป็นสังเกตการณ์ที่ผู้ศึกษาได้เตรียมวัตถุประสงค์ของการสังเกตการณ์ไว้ล่วงหน้า
3. การสังเกตการณ์ในห้องปฏิบัติการณ์เป็นการสังเกตในสถานการณ์ที่ผู้สังเกตการศึกษาได้กำหนดไว้
อาจใช้วิธีการสังเกตผ่านห้องกระจกมองเห็นด้านเดียวเพื่อมิให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว
อุปสรรคในการสังเกต
1. การเข้าถึงผู้ที่จะถูกสังเกต
2. โอกาสที่จะสังเกต
3. ลำดับความสำคัญของเหตุการณ์
4. การจดบันทึกข้อมูล
ข้อดีและข้อจำกัดในการสังเกตการณ์
ข้อดีในการสังเกตการณ์
1. สามรถสังเกตการณ์หรือบันทึกพฤติกรรมได้ทันที่ที่เกิดขึ้น
2. สามรถได้ข้อมูลที่แน่นอนและตรงกับสภาวการณ์จริงของพฤติกรรมนั้น
3. สามารถดำเนินการเก็บข้อมูลได้มากกว่าวิธีอื่นในกรณีเกิดความไม่เต็มใจจะให้ข้อมูลจากบุคคลหรือกลุ่มคน
ข้อจำกัดในการสังเกตการณ์
ข้อจำกัดในการสังเกตการณ์
1.ไม่มาสามรถที่จะทำนายได้อย่าแน่ชัดว่าเหตุการณ์หนึ่งๆจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อใดจึงจะสังเกตการได้ทัน
2. มีปัญหาด้านปัจจัยสอดแทรกที่ไม่มีคาดคิดมาก่อน
เช่น การจราจร การจลาจล
ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น