ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง มีจำนวน
76
คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละ จังหวัดๆ ละ 1 คน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนน เลือกผู้สมัครได้เพียงหมายเลขเดียว ผู้ที่ได้รับคะแนน สูงสุด จะได้รับเลือกเป็น ส.ว. ของแต่ละจังหวัด .
ส.ว.ที่มาจากการสรรหา
มีจำนวน
74
คน
ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจะดำเนินการสรรหา ส.ว. จำนวนดังกล่าวจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา
อำนาจหน้าที่ของ ส.ว.
1. การกลั่นกรองกฎหมาย
ส.ว.มีอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมายโดยสามารถแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภา
ผู้แทนราษฎรได้ เพื่อให้การออกกฎหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบ รัดกุม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
หน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีหรือตั้งคณะกรรมาธิการไปศึกษา
งานด้านต่างๆให้มีการตรวจสอบฝ่ายบริหารเพื่อให้มีข้อสังเกตคำแนะนำและกระตุ้นเตือนรัฐบาลรวมทั้ง
การแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล
3. การเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ
กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ให้วุฒิสภา ทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆโดยเฉพาะองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
4. การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ดำรง ตำแหน่งระดับสูงทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว.
คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว.
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
- เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
- เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
- เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
- เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่ น้อยกว่าสองปี
มาตรา126 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
- เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
- เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
มาตรา
109 ใครที่มีลักษณะอย่างนี้ ห้ามมาสมัคร
- ติดยาเสพติดให้โทษ
- เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
- เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 106 (1)(2) หรือ (4)
- วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา
109
(ต่อ)
- ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
- เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
- เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- เป็นสมาชิกวุฒิสภา
- เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
- เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 295
- เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง
เป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาข้อมุล
ตอบลบ