ส.ส. ย่อมาจากคำว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. คือ
เป็นตัวแทนของประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา
ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็น รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 375 คน และรูปแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 125 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ อายุของสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
คุณสมบัติ
ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็น รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 375 คน และรูปแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 125 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ อายุของสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
คุณสมบัติ
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
- เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
- เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
- เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (4) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
- คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ลักษณะต้องห้าม
- ติดยาเสพติดให้โทษ
- เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
- เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 100 (1) (2) หรือ (4)
- ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
- เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกินสองปี
- เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
- เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263
- เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่
- บทบาทในสภา
- อำนาจในการตรากฎหมาย
การตราพระราชบัญญัติ คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
- ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
- คณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
- ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
- การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
- ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อความไม่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้ามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป ในกรณีที่วินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นั้นเป็นอันตกไป
2) พระราชบัญญัติ
- ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
- คณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน โดยไม่ต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้
- ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน
- การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
- ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงให้วุฒิสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
http://news.voicetv.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น