วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
ประเทศไทยกับอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2510 มีพัฒนาการมาเป็นลำดับและไทยก็มีบทบาทสำ คัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างมลายาและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกมาจากมลายา และได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรีอันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น “บ้านเกิด” ของอาเซียน
ต่อมาอาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 ในปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ทยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีไทยเป็นจุดศูนย์กลาง ถึงแม้ว่าปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวงและช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและที่สำคัญไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิก อาเซียนดัง้ เดิมในการแก้ไขปัญหากัมพชู า รวมทัง้ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยที่เป็นประเทศด่านหน้า
นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยอดีตนายกรัฐมนตรีนายอานันท์ปันยารชุน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยอาเซียนตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551
ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้างประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำ กฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน
มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎบัตรอาเซียน ได้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ - หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในทั้ง 3 เสาหลัก คือประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจและประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ที่มา : ประเทศไทยกับอาเซียน.สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ.กรมประชาสัมพันธ์.เมษายน,2555
ประชาคมอาเซียน (ASEAN)
กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ลงนามโดย รัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย,
ตุน อับดุล ราซักบิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย, นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์, นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัดคอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความ
เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอย่ดี บนพืน้ ฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ ร่วมกนัจากเจตจำนงที่สอดคล้องกันนี้นำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก ลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน
อาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020 โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ในด้านการเมือง ให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEANPolitical-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือภายในปี 2558 หรือ ค.ศ. 2015 โดยได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
สัญลักษณ์และธงของอาเซียน
สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ รวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
การจัดทำเพลงประจำอาเซียน เป็นการดำเนินการตามข้อ 40 ของกฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียน “มีเพลงประจำอาเซียน” ในปี 2551 ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียน ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ซึ่งได้จัดเป็นการแข่งขันแบบเปิดให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจส่งเพลงของตนเองเข้าประกวด (open competition) โดยมีหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่
1. มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ
2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที
4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ
5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำ เนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรคือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล(Intergovernmental Organization)จุดเด่นประการหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน คือ การที่ข้อบทต่าง ๆถูกกำ หนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ประชาชนเข้าถึงและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท รวม 55 ข้อย่อย
ที่มา : ประเทศไทยกับอาเซียน.สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ.กรมประชาสัมพันธ์.เมษายน,2555
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ลงนามโดย รัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย,
ตุน อับดุล ราซักบิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย, นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์, นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัดคอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความ
เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอย่ดี บนพืน้ ฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ ร่วมกนัจากเจตจำนงที่สอดคล้องกันนี้นำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก ลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน
อาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020 โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ในด้านการเมือง ให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEANPolitical-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือภายในปี 2558 หรือ ค.ศ. 2015 โดยได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
สัญลักษณ์และธงของอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
การจัดทำเพลงประจำอาเซียน เป็นการดำเนินการตามข้อ 40 ของกฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียน “มีเพลงประจำอาเซียน” ในปี 2551 ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียน ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ซึ่งได้จัดเป็นการแข่งขันแบบเปิดให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจส่งเพลงของตนเองเข้าประกวด (open competition) โดยมีหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่
1. มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ
2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที
4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ
5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
THE ASEAN WAY
ขอบคุณ คลิปจากWiraphan Chotsaeng
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำ เนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรคือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล(Intergovernmental Organization)จุดเด่นประการหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน คือ การที่ข้อบทต่าง ๆถูกกำ หนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ประชาชนเข้าถึงและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท รวม 55 ข้อย่อย
ที่มา : ประเทศไทยกับอาเซียน.สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ.กรมประชาสัมพันธ์.เมษายน,2555
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
สงครามครูเสด
สงครามครูเสดเป็นสงครามระหว่างพวกคริสเตียนในยุโรปกับพวกมุสลิมที่ยึดครองนครเยรูซาเล็มในปาเลสไตน์
ซึ่งเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์
พวกคริสเตียนยกทัพไปโจมตีดินแดนของพวกมุสลิม โดยอ้างว่าเพื่อปลดปล่อยนครเยรูซาเลม
สงครามครูเสดดำเนินอยู่ในช่วงเวลาเกือบ 200 ปี
และก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการของยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
สาเหตุของสงครามครูเสด
ชาวยุโรปยกทัพไปทำสงครามครูเสดรวม 6 ครั้ง
เหตุผลโดยรวมของการทำสงครามคือปลดปล่อยนครเยรูซาเลมอันศักดิ์สิทธิ์จากการควบคุมของพวกมุสลิม
แต่เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว
พบว่าการสนับสนุนสงครามครูเสดของชาวยุโรปเกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ
ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ เหตุผลทางการเมือง และการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์
เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวยุโรปเดินทางไปทำสงครามครูเสด
เนื่องจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์จากยุโรปที่เดินทางไปแสวงบุญยังนครเยรูซาเลมถูกพวกเติร์กที่ยึดครองปาเลสไตน์อยู่ขัดขวางและบางคนถูกสังหาร
สำนักวาติกันซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของศาสนาคริสต์ได้เรียกร้องให้พวกคริสเตียนไปร่วมรบเพื่อชิงนครเยรูซาเลมจากพวกมุสลิม
นักรบที่ร่วมในสงครามจะเย็บเครื่องหมายกางเขนที่ทำด้วยผ้าติดไว้บนเสื้อผ้าของตน
จึงถูกเรียกว่า “crusader” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ที่ติดเครื่องหมายกางเขน” และเป็นที่มาของชื่อสงครามครูเสด
ใน ค.ศ. 1095 สันตะปาปาเออร์แบบที่ 2
(Urban II) เรียกประชุมผู้นำทางศาสนาและขุนนางที่มีอำนาจในเขตต่างๆ
ของฝรั่งเศสเพื่อให้ยุติการสู้รบแย่งชิงอำนาจกัน และช่วยกันปกป้องศาสนาคริสต์
ในปีถัดมาสันตะปาปาทรงนำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมสงครามซึ่งมีจำนวนมากมาจากดินแดนต่างๆ
ทั่วยุโรป เพราะเชื่อว่าการไปรบเพื่อศาสนาจะเป็นการไถ่บาปที่ยิ่งใหญ่
ผู้ที่เสียชีวิตในสงครามครูเสดจะได้ขึ้นสวรรค์
สันตะปาปาทรงให้สัญญาว่าทรัพย์สินและครอบครัวของนักรบครูเสดจะได้รับความคุ้มครองจากศาสนจักร
นักรบที่มีหนี้สินจะได้รับการยกเว้นหนี้และนักโทษคดีอาญาที่ไปร่วมรบก็จะได้รับอภัยโทษด้วย
นักรบครูเสดได้รับชัยชนะในสงครมครูเสดครั้งที่ 1 และสามารถยึดนครเยรูซาเลม
จากนั้นก็สร้างเขตปกครองของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์ขึ้นหลายแห่ง
อย่างไรก็ตามหลังจากนักรบครูเสดเลิกทัพกลับยุโรปแล้ว
พวกมุสลิมก็กลับมารุกรานนครเยรูซาเลมอีกและยึดเมืองของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์บางเมือง
ทำให้สงครามครูเสดยืดเยื้อต่อไป
สำนักวาติกันได้ขอร้องให้กษัตริย์และผู้ครองนครรัฐในยุโรปยกทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 2
(ค.ศ. 1147
– 1149) และครั้งที่ 3 (ค.ศ.1189 – 1192) แต่นักรบครูเสดก็ไม่สามารถปราบปรามพวกมุสลิมได้
ดังนั้นสันตะปาปาอินโนเชนต์ที่ 3 (Innocent III) จึงชักชวนพวกอัศวินและขุนนางในฝรั่งเศสไปรบในสงครามครูเสดครั้งที่ 4
(ค.ศ. 1202
– 1204) แต่นักรบครูเสดกลับไปยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล หลังจากนั้นสำนักวาติกันก็ยัคงสนับสนุนให้นักรบครูเสดไปรบกับพวกมุสลิมอีกแต่ในที่สุดเมือเอเคอร์
(Acre) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์แห่งสุดท้ายถูกพวกมุสลิมยึดครองใน
ค.ศ. 1291 ทำให้สงครมครูเสดยุติลง
เหตุผลทางการเมือง
ในสมัยกลาง
สถาบันศาสนามีอิทธิพลทางการเมืองเหนือกษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ
จะเห็นได้ว่าสันตะปาปาเป็นผู้ประกอบพิธีถวายมงกุฎแก่กษัตริย์และจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เพื่อแสดงถึงการมอบอำนาจทางโลกให้แก่กษัตริย์หรือจักรพรรดิในนามของพระเจ้า
การชักนำให้กษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ
ส่งกองทัพไปรบกับพวกมุสลิมในสงครามครูเสดทั้งหลาย
แสดงถึงอิทธิพลทางการเมืองของสันตะปาปาที่มีเหนือกษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ
ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าการที่กษัตริย์และประมุขเหล่านั้นไปร่วมรบใน
สงครามครูเสดก็มิได้เกิดจากศรัทธาต่อศาสนาคริสต์เพียงประการเดียว
แต่ยังเป็นการตอบสนองนโยบายของสันตะปาปาเพื่อความมั่นคงทางการเมืองของตนด้วย
การแสวงหาประโยชน์ทางศรษฐกิจ
สงครามครูเสดได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะพ่อค้าในแหลมอิตาลีซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการขนส่งทหารและเสบียงอาหารให้กับกองทัพครูเสดไปยังปาเลสไตน์
ขณะเดียวกันพ่อค้าเหล่านั้นก็แสวงหาประโยชน์อื่นจากนักรบครูเสดด้วย
ดังกรณีที่พ่อค้า
เมืองเวนิส (Venice) เสนอจะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่าสูงให้กับกองทัพครูเสดหากยินดียกทัพไปตีเมืองซารา
(Zare) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) และเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของเวนิส
สงครามครูเสดส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของยุโรป
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
ด้านการเมือง สงครามครูเสดส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างกว้างขวาง
กล่าวคือ
ประการแรก สงครามครูเสดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและโลกมุสลิมเสื่อมลงเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีอคติต่อกัน
ประการที่สอง การที่นักรบครูเสดบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ได้ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนแออย่างมาก
กระทั่งไม่อาจต้านทานการรุกรานของพวกออตโตมันเติร์กและล่มสลายไปในที่สุด
ประการที่สาม สงครามครูเสดมีผลให้ระบบฟิวดัลของยุโรปเสื่อมลง
เนื่องจากขุนนางและอัศวินซึ่งปกครองดูแลแมเนอร์ของตนในเขตต่างๆ
ต้องไปร่วมรบในสงครามครูเสด ทำให้กษัตริย์มีอำนาจปกครองดินแดนต่างๆ เพิ่มขึ้น
ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บภาษีจากราษฎรและการเกณฑ์ทัพ
กระทั่งสามารถพัฒนารัฐชาติได้ในเวลาต่อมา
ด้านเศรษฐกิจ สงครามครูเสดส่งผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือ
ประการแรก หลังสงครามครูเสดยุติลงแล้ว
พ่อค้ายุโรปโดยเฉพาะในแหลมอิตาลีประสบปัญหาการเดินเรือในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เพราะเมืองท่าบางแห่งอยู่ใต้อำนาจของพวกมุสลิมซึ่งมีคติต่อชาวยุโรป
นอกจากนี้พ่อค้ายุโรปยังประสบปัญหาการขยายการค้ากับดินแดนตะวันออกตามเส้นทางบกซึ่งต้องผ่านดินแดนของพวกมุสลิม
ดังนั้นชาวยุโรปจึงต้องพัฒนาเส้นทางทะเล โดยเฉพาะการเดินเรืออ้อมแอฟริกาไปยังเอเชียที่ประสบความสำเร็จในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในเวลาต่อมา
ประการที่สอง การติดต่อกับตะวันออกกลางในช่วงสงครามครูเสดทำให้ชาวยุโรปรู้จักบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์จากตะวันออกกลาง
เช่น ข้าว น้ำตาล มะนาว ผลแอปริคอต และผ้าป่านมัสลิน
ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่ยุโรปนำเข้าเป็นประจำ
ด้านสังคม สงครามครูเสดทำให้เกิดผลกระทบทางสังคม คือ
ประการแรก สงครามครูเสดได้เปิดโลกทัศน์ของชาวยุโรปเกี่ยวกับ “โลกตะวันออก” โดยเฉพาะคาวมก้าวหน้าและเทคโนโลยีของชาวตะวันออก
เช่น การใช้ดินปืนในการทำสงคราม
ต่อมาชาวยุโรปได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนและสามารถทำสงครามชนะชาวเอเชีย
ทำให้ยุโรปกลายเป็นมหาอำนาจของโลก
ประการที่สอง นักรบครูเสดมาจากดินแดนต่างๆ
ในสังคมของระบบฟิวดัลที่ไม่มีโอกาสรู้จักโลกภายนอกมากนัก
เมื่อได้พบปะเพื่อนนักรบอื่นๆ จึงได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและองค์ความรู้ต่อกัน
ทำให้เกิดการหล่อหลอมทางด้านวัฒนธรรมและความคิดของชาวยุโรป โดยเฉพาะในการแสดงออกทางความคิดการวิพากษ์วิจารณ์
และการเปิดรับแนวคิดใหม่
ซึ่งรากฐานของขบวนการมนุษย์นิยมที่เติบโตในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่
ประการที่สาม สงครามครูเสดเปิดโอกาสให้สตรีได้พัฒนาสถานะของผู้นำในสังคมและชุมชน
เนื่องจากสามีต้องไปรบในสงคราม
ภรรยาจึงต้องบริหารจัดการและดูแลทรัพย์สินรวมทั้งข้าทาสบริวารและผลประโยชน์ต่างๆ
ส่งผลให้สังคมยอมรับศักยภาพและความสามารถของสตรีซึ่งเป็นพลังสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม
ที่มา : http://metricsyst.wordpress.com สงครามครูเสด
(The Crusades, ค.ศ.1096-1291)
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556
สงครามอ่าวเปอร์เซีย(Persian Gulf War)
ภูมิหลัง
คูเวต
เป็นประเทศในกลุ่มอาหรับขนาดเล็ก ตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวเปอร์เซีย
ทางเหนือและตะวันตกติดกับอิรัก ทางตะวันออกติดกับอ่าวเปอร์เซีย
ทางใต้ติดกับซาอุดิอาระเบีย มีการค้นพบน้ำมันปิโตรเลียมในคูเวต เมื่อ ค.ศ 1930 ในปริมาณมาก ซึ่งประมาณว่า มีปริมาณร้อยละ 20
ของปริมาณน้ำมันทั้งโลก นับตั้งแต่ ค.ศ.1946 คูเวตเป็นประเทศผู้นำผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกและส่งน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก
คูเวตเคยเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษระหว่างค.ศ 1914-1961 เมื่อคูเวตได้รับเอกราชในวันที่
19 มิถุนายน 1961 รัฐบาลอิรักอ้างสิทธิว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของตนตามหลักเชื้อชาติ
ภูมิศาสตร์ และสังคม แต่สันนิบาตอาหรับรับรองเอกราชของคูเวต
ภายหลังสงครามอิรัก-อิหร่านซึ่งกินเวลาถึง 8 ปี ส่งผลให้อิรักบอบช้ำมากจากภาระบูรณะประเทศ อิรักต้องเป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนประมาณ 80,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา ทำให้ฐานะเศรษฐกิจของอิรักทรุดหนัก อิรักมีสินค้าออกหลักคือน้ำมัน ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 99 ของมูลค่าสินค้าออกทั้งหมด อิรักจึงพยายามผลักดันให้องค์การโอเปกกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันและกำหนดราคาน้ำมันเสียใหม่ให้อิรักมีรายได้เพิ่มขึ้น อิรักอ้างว่าการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง เพราะคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ลอบผลิตและขายน้ำมันเกินโควตา นอกจากนี้อิรักยังกล่าวหาว่าระหว่างอิรักทำสงครามกับอิหร่านเป็นเวลา 8 ปี คูเวตได้ขยายพรมแพนล่วงล้ำเข้ามาทางใต้ของอิรัก4 กิโลเมตร เพื่อตั้งค่ายทหารและตั้งสถานีขุดเจาะน้ำมันเป็นการขโมยน้ำมันของอิรัก ยิ่งไปกว่านั้น อิรักทำสงครามกับอิหร่านในนามชาติอาหรับและเพื่อความมั่นคงของชาติอาหรับทั้งมวล จึงสมควรที่คูเวตต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ข้อเรียกร้องที่รุนแรงของอิรัก คือให้คูเวตคืนดินแดนที่รุกล้ำเข้ามา คือ เขต Rumailah oilfield ซึ่งมีน้ำมันอุดมสมบูรณ์และขอเช่าเกาะบูมิยัน กับเกาะวาร์บาห์ ในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อให้อิรักขายน้ำมันผ่านอ่าวเปอร์เซียโดยตรง โดยมิต้องขายน้ำมันทางท่อส่งน้ำมันผ่านซาอุดิอารเบียและตุรกีเช่นเดิม
สาเหตุ
กล่าวโดยสรุป
เหตุผลที่อิรักบุกคูเวตอย่างสายฟ้าแลบในเดือนสิงหาคม 1990 มีดังนี้
แรงกดดันจากหนี้สงครามอิรัก-อิหร่าน
อิรักจึงต้องการคุมแหล่งน้ำมันของโลกคือ คูเวต
เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการผลิตน้ำมันและการกำหนดราคาน้ำมัน อิรักไม่มีทางออกทะเลหรือทางอ่าวเปอร์เซีย
เพราะมีเกาะบูมิยันและเกาะวาห์บาห์ของคูเวตขวางทางอยู่
อิรักจึงมิอาจขายน้ำมันโดยตรงแก่เรือผู้ซื้อได้
ทั้งอิรักยังตกลงกับอิหร่านเรื่องการใช้เมืองท่าบัสราผ่านร่องน้ำซัตต์-อัล-อาหรับ
ไม่ได้ อิรักและคูเวตมีกรณีพิพาทดินแดน Rumailah Oilfield แหล่งน้ำมันที่สำคัญมาเป็นเวลานานและหาข้อยุติไม่ได้
อิรักจึงถือโอกาสยึดครองคูเวตด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์
ปฏิกริยาของประเทศต่างๆ
ปฏิกริยาของประเทศต่างๆ
ที่มีต่อการยึดครองคูเวตของอิรักแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
สหประชาชาติ ชาติอภิมหาอำนาจ
รวมถึงกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก เห็นตรงกันที่ต้องรักษาดุลอำนาจในตะวันออกลาง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ประณามการรุกรานและเรียกร้องให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวตโดยไม่มีเงื่อนไข
มติของคณะมนตรีความมั่นคงอันดับต่อมา คือ
การประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่อิรักและคูเวต ยกเว้นอุปกรณ์ทางการแพทย์และอาหร
เพื่อเหตุผลด้านมนุษยธรรม แต่อิรักก็ไม่ได้ปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ
กลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
กลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
อิยิปต์ ซีเรีย ซาอุดิอารเบีย
เรียกร้องให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต
สนับสนุนการเข้ามาของกองกำลังพันธมิตรและถือว่าตนปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ จอร์แดน เยเมน ตูนีเซีย แอลจีเรีย
และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
กลุ่มนี้เรียกร้องให้ชาติอาหรับเจรจาหาทางแก้ปัญหากันเอง
โดยไม่ต้องให้เป็นภาระขององค์การระดับโลก
นอกจากนี้ยังมองว่าการปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติเท่ากับเป็นการรังแกชาวอาหรับด้วยกันเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสหรัฐอเมริกาดำเนินการต่างๆ
เพื่อเรียกร้องนานาชาติกดดันให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต ภาพของประธานาธิบดีซัดดัม
ฮุสเซน กลายเป็นวีรบุรุษชาวอาหรับที่กล้าท้าทายโลกตะวันตก
สาเหตุที่สหรัฐอเมริกามีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงนั้น
เพราะอิรักทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง
และแสนยานุภาพของอิรักอาจเป็นอันตรายต่ออิสราเอลพันธมิตรที่ดีของสหรัฐอเมริกาในอนาคตอีกด้วย
Thaigoodview
ผลของสงคราม
เมื่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรประเทศต่างๆ
ส่งกำลังเข้าไปในซาอุดิอารเบีย เพื่อป้องกันการรุกรานของอิรัก
อิรักหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิหร่าน ซึ่งเป็นศัตรูของสหรัฐอเมริกาและเคยเป็นศัตรูของอิรักเองในสงครามอิรัก-อิหร่าน
อิรัก-อิหร่านได้ทำการแลกตัวประกันจำนวน 70,000 คน และอิรักได้ถอนทหารของตนออกจากดินแดนของอิหร่าน
ซึ่งอิรักยึดครองมาตั้งแต่สงครามอิรัก-อิหร่าน
การกระทำของอิรักชี้ให้เห็นว่าอิรักต้องการให้สถานการณ์ด้านอิหร่านสงบ
เพื่อไม่ต้องพะวงศึกสองด้าน
กองกำลังนานาชาติเพิ่มจำนวนเข้าไปในซาอุดิอาระเบียมากขึ้น
เป็นครั้งแรกที่สองอภิมหาอำนาจมีความเห็นตรงกันในการแก้ปัญหาการรุกรานคูเวตของอิรัก
ส่วนอิรักตอบโต้มติสหประชาชาติด้วยการเพิ่มกำลังเข้าไปในคูเวต อิรักมีศักยภาพทางทหารสูงกว่าประเทศอาหรับอื่นๆ
คือ มีทหารประจำการถึง 1 ล้านคนและมีอาวุธเคมี
อาวุธชีวภาพ ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงแต่ต้นทุนการผลิตต่ำ
อาวุธเหล่านี้อิรักได้รับความช่วยเหลือบ้างจากประเทศยุโรปตะวันตกในช่วงทำสงครามกับอิหร่าน
สงครามอ่าวเปอร์เซียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่
17 มกราคม 1991 ภายหลังจากประธานาธิบดีจอร์ช
บุช
แห่งสหรัฐอเมริกาสามารถดำเนินวิธการทางการฑูตให้สหประชาชาติลงมติให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวตโดยเด็ดขาดภายใน
15 มกราคม 1991 มิฉะนั้น
กองกำลังพันธมิตรจะใช้มาตรการบังคับด้วยกำลังต่ออิรัก เมื่อครบกำหนดเส้นตาย
สหรัฐอเมริกาเปิดฉากโจมตีทางอากาศนในอิรักและคูเวตด้วยยุทธการ พายุทะเลทราย
กองกำลังพันธมิตรร่วมมือโจมตีอิรักอย่างต่อเนื่อง
อิรักซึ่งอยู่ในฐานะเป็นรองพยายามดึงอิสราเอลเข้าร่วมสงคราม โดยยิงจรวดสกั๊ด (SCUD)
โจมตีเมืองเทลอาวีปและเมืองท่าไฮฟา หากอิสราเอลหลงกลตอบโต้อิรัก
อิรักก็จะได้ประเทศอาหรับที่เป็นศัตรูกับอิสราเองมาเสริมกำลัง
แต่ความพยายามของประธานาธิบดีซัดดัมล้มเหลว
เมื่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรสามารถยับยั้งมิให้อิสราเอลใช้กำลังตอบโต้สงครามดำเนินต่อไปด้วยความร่วมมือของฝ่ายพันธมิตร
ปฏิบัติการพายุทะเลทราย ได้ดำเนินมาถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1991
หลังจากนั้นกองกำลังพันธมิตรได้เปิดฉากการโจมตีภาคพื้นดินต่ออิรัก
ในระยะเวลาเพียง 100 ชั่วโมงกองกำลังพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการยึดคูเวตมาได้สำเร็จในวันที่
26 กุมภาพันธ์ นั่นเอง หลังจากอิรักยึดครองคูเวตเป็นเวลานานกว่า
6 เดือน
ข้อควรพิจารณาจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย
คือ บทบาทที่เด่นชัดของสหประชาชาติในการระงับกรณีพิพาททั้งวิธีการฑูตและกำลังทหาร
รวมทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ มาตรการต่างๆ
เหล่านี้สหประชาติาจะเลือกใช้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม
บทบาทของสหประชาชาติในสงครามอ่าวเปอร์เซียอยู่ภายใต้การชี้นำของสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจนด้วยเวทีทางการฑูตและการทหารแสดงให้เห็นว่า
บทบาทผู้นำโลกของสหรัฐอเมริกาลดความศักดิ์สิทธิ์ลงในสถานการณ์การเมืองโลกปัจจุบัน
ความร่วมมือระหว่างประเทศมหาอำนาจเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนั้น
ยังแสดงให้เห็นความสำเร็จเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติสามารถออกมติเพื่อลงโทษประเทศสมาชิกที่ละเมิดกฏบัตรด้วยการรุกรานประเทศอื่น
ทั้งนี้เป็นผลของการยุติการเผชิญหน้าของสองอภิมหาอำนาจและความจำเป็นของการร่วมมือของประเทศทั้งสอง
แม้สงครามอ่าวเปอร์เซียยุติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
1991 แล้วก็ตาม
มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติได้บีบคั้นเศรษฐกิจของอิรักมากขึ้นกว่าเดิม
ประชาชนอดอยากขาดแคลนอาหารและยารักษาโรคจนมีสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมและต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
ในเดือน พฤศจิกายน 1991นั้น สหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษตรวจสอบอาวุธของอิรัก
(unscom) เข้าไปตรวจสอบแหล่งผลิตและที่ซ่อนอาวุธเคมี
อาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธชีวภาพของอิรัก เพื่อให้อิรักทำลายล้างอาวุธเหล่านี้
หลังจากนั้นสหประชาชาติจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิรัก
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหประชาชาติกับอิรักได้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ตั้งแต่อันสคอมถูกส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในอิรักจนถึงปัจจุบัน
อิรักจะขัดขวางการทำงานของอันสคอมอยู่เสมอๆ เช่นกัน นอกจากนี้ในเดือนสิงหาคม 1992 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งเขตห้ามบินทางตอนใต้ของอิรักและขยายมายังตอนเหนือเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน
1996 ภายหลังสหรัฐอเมริกาได้โจมตีทางตอนใต้องอิรักอีก
เพื่อเป็นการตอบโต้อิรักปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดอย่างรุนแรง
Military
เมื่อ ค.ศ.1997 อิรักได้ขับไล่ชาวอเมริกันออกจากทีมงานอันสคอมโดยกล่าวหาว่า
ชาวอเมริกาคนหนึ่งเป็นสายลับ ซึ่งสหรัฐอเมริกาปฏิบัติคำกล่าวหานี้
การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและอันสคอม กับอิรักได้ตึงเครียดมาตามลำดับ ค.ศ.1998
เมื่ออิรักขัดขวางเจ้าหน้าที่อันสคอม
(ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ รวมทั้งไทย)
ไม่ให้เข้าไปตรวจสอบอาวุบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน นายโคฟี อันนาม
เลขาธิการสหประชาชาติเดินทางไปเจรจากับประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน
เพื่อยุติการเผชิญหน้าระหว่างอิรักกับสหรัฐอเมริกา
อิรักยินยอมให้อันสคอมตรวจสอบอาวุธบริเวณทำเนียบประธานาธิบดี
อันสคอมร้องเรียนสหประชาชาติว่าอิรักไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และยังขัดขวางการปฏิบัติงานของอันสคอมอีกด้วย
การเผชิญหน้าระหว่างอิรักและสหรัฐอเมริกาทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในเดือนธันวาคม 1998 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเตือนอิรักว่า
อาจจะมีการโจมตีอิรักได้ทุกเวลาหากอิรักยังคงขัดขวางการปฏิบัติงานของอันสคอม
16 ธันวาคม 1998
เจ้าหน้าที่ของอันสคอมต้องเดินทางออกจากอิรักเพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากอิรัก
และเช้าตรู่ของวันรุ่นขึ้น ประธานาธิบดี บิล คลินตัน
ได้ส่งกำลังทหารไปยังอ่าวเปอร์เซียร่วมกับกองกำลังทหารอังกฤษเพื่อยิงถล่มอิรักภายใต้ปฏิบัติการชื่อ
“ปฏิบัติการจิ้งจอกทะเลทราย” เป็นเวลา 4
วัน จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส รวมทั้งบรรดาชาติอาหรับอื่นๆ
ต่างประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยุติการโจมตีอิรัก ส่วนสมาชิกนาโต ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ต่างสนับสนุนมาตรการแข็งกร้าวของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
ปัญหาอิรักคือปัญหาที่ท้าทายบทบาทของสหประชาชาติ
ในเวลาเดียวกันก็เป็นปัญหาภาพลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาที่ชี้นำและดำเนินการโดยพลการในนามสหประชาชาติ
ถือเป็นการละเมิดกฏบัตรสหประชาชาติและหลักการของประชาคมโลก นายโคฟี อันนาม
กล่าวแสดงความรู้สึกของเขาว่า “วันนี้เป็นวันที่น่าเศร้าของยูเอ็นและชาวโลก
ผมได้ทำทุกสิ่งเท่าที่มีอำนาจหน้าที่สร้างความสงบตามปณิธานของยูเอ็น
เพื่อระวังการใช้กำลัง สิ่งนี้ไม่ใช่ของง่าย เป็นกระบวนการเจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุด”
ที่มา : http://jiab007.wordpress.com สงครามอ่าวเปอร์เซีย
http://www.thaigoodview.com/ ปัญหาตะวันออกกลาง
สงครามกลางเมืองซีเรีย
สงครามกลางเมืองซีเรีย คร่าชีวิตผู้คนไปนับแสน
เมื่อในวันที่ 21 สิงหาคม 2556 รัฐบาลซีเรีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ได้สั่งการให้กองทัพทิ้งระเบิดเพื่อปราบกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาล ในเมืองกัวตาห์ ชานกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,300 ราย ท่ามกลางคำกล่าวอ้างของกลุ่มพันธมิตรซีเรียที่ระบุว่า รัฐบาลใช้อาวุธเคมี รวมทั้งแก๊สพิษซารินในการสู้รบกับกองกำลังฝ่ายต่อต้าน แม้ภายหลังทางการซีเรียจะออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง แต่ทางสหประชาชาติก็เตรียมจะขอเข้าไปพิสูจน์เรื่องนี้แล้ว
การสู้รบระหว่างรัฐบาล และฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยืดเยื้อมานานกว่า 29 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้ (23 สิงหาคม 2556) ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการมีอย่างน้อย 1 แสนคน และมีชาวซีเรียขอลี้ภัยเกือบ ๆ 2 ล้านคน
อะไรที่ทำให้สงครามซีเรียรุนแรงมากขนาดนี้ แล้วชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองซีเรียแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร ลองตามกระปุกดอทคอมไปย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดกัน
ในช่วงปลายปี 2553 เรื่อยมาจนถึงปี 2554 ประชาชนในหลายประเทศของกลุ่มตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกาเหนือ ได้ลุกฮือประท้วงรัฐบาลของตัวเอง เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีก้าวลงจากตำแหน่ง หลังจากผูกขาดอำนาจมานานหลายทศวรรษ ไล่เรียงมาตั้งแต่ ตูนีเซีย อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ฯลฯ ระบาดไปทั่วภูมิภาคจนมีการเรียกขานปรากฏการณ์นี้ว่า "อาหรับสปริง" หรือการปฏิวัติในประเทศอาหรับ และในที่สุดปรากฏการณ์นี้ก็ขยายวงกว้างมาถึงประเทศซีเรีย เมื่อในวันที่ 15 มีนาคม 2554 กลุ่มประชาชนชาวซีเรียนับหมื่นที่ไม่พอใจรัฐบาลพรรคบะอัษ (Ba'ath) ของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ได้ประท้วงเดินขบวนเรียกร้องให้พรรคบะอัษยุติการปกครองประเทศและประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ต้องลาออกจากตำแหน่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าคนในตระกูลอัล อัสซาด ผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตำแหน่งประธานาธิบดีมานานกว่า 4 ทศวรรษ คือตั้งแต่ปี 2514 พันเอกฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ลูกชายคือประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
เมื่อสถานการณ์การประท้วงทำท่าจะลุกลาม และบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด ในเดือนเมษายน 2554 รัฐบาลก็ได้สั่งการให้กองกำลังความมั่นคงเปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุมในหลาย ๆ เมืองทั่วประเทศ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากหลักสิบพุ่งเป็นหลักร้อย หลักพัน ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ จนองค์การสหประชาชาติ (UN) ต้องออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (EU) ที่ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรซีเรีย ไม่ต่างจากสันนิบาตอาหรับที่สั่งระงับสมาชิกภาพของซีเรีย ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็พยายามกดดันซีเรียเช่นกัน ด้วยการอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศของผู้นำซีเรีย และแกนนำระดับสูงของรัฐบาลซีเรีย 6 คน พร้อมกับเรียกร้องให้ผู้นำซีเรียสละอำนาจโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า รัฐบาลซีเรียจะไม่ได้สนใจต่อเสียงเรียกร้องจากนานาชาติเท่าใดนัก ยังคงเปิดฉากกวาดล้างผู้ชุมนุมอีกหลายครั้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศรัสเซีย และอิหร่าน ขณะที่ประเทศจีนคอยให้ความช่วยเหลือทางการทูต ทำให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ปรากฏตัวผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ย้ำความมั่นใจว่ารัฐบาลของตัวเองจะไม่ถูกโค่นล้มอย่างแน่นอน
ขณะที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ตอนแรกเป็นเพียงการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่เมื่อถูกปราบปรามอย่างหนัก ในที่สุดก็ลุกขึ้นมาจับอาวุธ โดยความร่วมมือกันระหว่างทหารที่แปรพักตร์ อาสาสมัคร และพลเรือนส่วนหนึ่ง หลังจากได้รับการสนับสนุนอาวุธจากประเทศตุรกี และซาอุดีอาระเบีย โดยมีประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี กาตาร์ ให้ความช่วยเหลือทางการทูต
การสู้รบยิ่งระอุขึ้นเรื่อย ๆ ในปลายปี 2554 เมื่อกลุ่มต่อต้านก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในกรุงดามัสกัส เมืองหลวง และเมืองอะเลปโป เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ ขณะเดียวกันก็สะสมกองกำลังติดอาวุธมากขึ้น ทำให้รัฐบาลซีเรียต้องหันไปสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย "ฮิซบอลเลาะห์" ที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศเลบานอน ให้เข้ามาร่วมปฏิบัติการปราบกบฏกับกองทัพซีเรียด้วย โดยลั่นวาจาว่าปฏิบัติการจะดำเนินไปจนกว่าฝ่ายกบฏจะย่อยยับ
เมื่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก้าวเข้ามาร่วมในสงคราม ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์สงครามกลางเมืองเดือดขึ้นเรื่อย ๆ ทางฝ่ายกบฏได้ลอบคาร์บอมบ์ ระเบิดที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่วนฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็เดินหน้าถล่มฝ่ายกบฏ พร้อมกับยึดเมืองคืน ขณะเดียวกันที่เป็นปริศนาก็คือ มีกองกำลังไม่ทราบฝ่าย เรียกกันว่า "ชาบีฮา" ซึ่งเป็นกองกำลังชุดดำติดอาวุธได้ทำการสังหารหมู่ประชาชนซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่องไปพร้อม ๆ กัน
เหตุการณ์ลุกลามมาเรื่อย จนถึงในช่วงต้นปี 2556 องค์การระหว่างประเทศได้ออกมาประณามรัฐบาลซีเรียอย่างกว้างขวาง หลังจากได้จับกุมผู้ประท้วงหลายหมื่นคนไปทรมานอย่างหนักในเรือนจำของรัฐ รวมทั้งประณามฝ่ายต่อต้านที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 สหประชาชาติประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามซีเรียที่กินเวลามาเกือบ 2 ปี สูงกว่า 70,000 คน ราวครึ่งหนึ่งเป็นพลเรือน ผู้สูญหายอีกหลายหมื่นคน ขณะที่มีประชาชนชาวซีเรียกว่า 1.4 ล้านคน ขอลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ฝั่งนานาชาติก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อเหตุการณ์นี้ หลายประเทศในกลุ่มอาหรับประกาศปิดสถานทูตในซีเรีย เพื่อประท้วงรัฐบาลที่สังหารประชาชน ขณะที่องค์การที่เกี่ยวข้องก็ประชุมออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกดดันให้สงครามครั้งเลวร้ายยุติลง แต่ดูเหมือนว่ายิ่งเวลาผ่านไปเท่าใด คำว่า "สันติภาพ" ในประเทศซีเรีย ก็ยิ่งไกลห่างออกไปทุกที การสู้รบยังคงเกิดขึ้นอย่างดุเดือดและต่อเนื่อง แต่ละวันจะมีผู้คนล้มตายจำนวนนับไม่ถ้วน
ในปี 2556 ดูเหมือนว่าสงครามจะไม่ได้เป็นเรื่องของฝ่ายรัฐบาลซีเรีย และฝ่ายต่อต้านแต่เพียงเท่านั้น เมื่อฝ่ายต่อต้านได้ลักพาตัวเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ จำนวน 21 นาย เพื่อกดดันให้รัฐบาลถอนกำลัง อีกด้านหนึ่งทางกองทัพอิสราเอลก็ตัดสินใจยิงจรวดโจมตีคลังอาวุธของกองทัพซีเรียหลายครั้ง เพื่อหวังจะทำลายขีปนาวุธพิสัยไกลที่อิสราเอลอ้างว่าประเทศอิหร่านส่งมาช่วยซีเรียใช้ต่อสู้กับฝ่ายกบฏ และจะส่งต่อให้กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในชายแดนเลบานอน
เมื่อประเทศอิสราเอลเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้ ก็ทำให้กลุ่มประเทศสันนิบาตชาติอาหรับอดวิตกกังวลไม่ได้ว่า สถานการณ์จะยิ่งบานปลายขนาดไหน และก็เป็นดังคาด เมื่อกองทัพซีเรียขู่จะเปิดศึกอีกด้านกับอิสราเอล โดยประกาศกร้าวจะตอบโต้อิสราเอลที่ยิงจรวดโจมตีคลังแสงซีเรีย จนทำให้ทหารเสียชีวิต 42 นาย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนทางรัฐบาลอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา กลับมองว่า การที่อิสราเอลส่งจรวดเข้าทำลายอาวุธของกองทัพซีเรีย ถือเป็นสิทธิของอิสราเอลที่จะปกป้องประเทศให้พ้นจากภัยคุกคามของกลุ่มติดอาวุธตามแนวชายแดน
ขณะที่สงครามกลางเมืองในซีเรียก็ยังดำเนินต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าจะสงบลง กระทั่งปรากฏเป็นข่าวช็อกโลกในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 เมื่อกองทัพซีเรียทิ้งระเบิดปราบกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลในเมืองกัวตาห์ ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น จนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,300 คน ในจำนวนนี้มีทั้งเด็ก สตรี และคนชรา โดยภาพของศพนับพันที่นอนกันเรียงรายกลายเป็นภาพโศกนาฏกรรมอันน่าหดหู่ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้กลุ่มแนวร่วมแห่งชาติซีเรียและนักเคลื่อนไหวออกมาประณามรัฐบาลที่โจมตีประชาชนด้วยอาวุธเคมี และแก๊สพิษซาริน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ทางการได้รีบออกมาปฏิเสธโดยทันที ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนก็เชื่อว่าอาจจะเป็นฝีมือของมือที่สามเข้ามาแทรกแซงก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สหประชาชาติ และนานาชาติ ต่างพากันเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียอนุญาตให้คณะผู้ตรวจสอบการใช้อาวุธเคมีของสหประชาชาติเข้าถึงพยาน และเหยื่อได้อย่างอิสระ โดยไม่มีการแทรกแซงหรือปั้นแต่งหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ให้กระจ่างชัด
ที่มา :สงครามซีเรีย...ย้อนปมความขัดแย้งสู่สมรภูมิเลือด โดย กระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก : AFP
เมื่อในวันที่ 21 สิงหาคม 2556 รัฐบาลซีเรีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ได้สั่งการให้กองทัพทิ้งระเบิดเพื่อปราบกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาล ในเมืองกัวตาห์ ชานกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,300 ราย ท่ามกลางคำกล่าวอ้างของกลุ่มพันธมิตรซีเรียที่ระบุว่า รัฐบาลใช้อาวุธเคมี รวมทั้งแก๊สพิษซารินในการสู้รบกับกองกำลังฝ่ายต่อต้าน แม้ภายหลังทางการซีเรียจะออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง แต่ทางสหประชาชาติก็เตรียมจะขอเข้าไปพิสูจน์เรื่องนี้แล้ว
การสู้รบระหว่างรัฐบาล และฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยืดเยื้อมานานกว่า 29 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้ (23 สิงหาคม 2556) ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการมีอย่างน้อย 1 แสนคน และมีชาวซีเรียขอลี้ภัยเกือบ ๆ 2 ล้านคน
อะไรที่ทำให้สงครามซีเรียรุนแรงมากขนาดนี้ แล้วชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองซีเรียแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร ลองตามกระปุกดอทคอมไปย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดกัน
ในช่วงปลายปี 2553 เรื่อยมาจนถึงปี 2554 ประชาชนในหลายประเทศของกลุ่มตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกาเหนือ ได้ลุกฮือประท้วงรัฐบาลของตัวเอง เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีก้าวลงจากตำแหน่ง หลังจากผูกขาดอำนาจมานานหลายทศวรรษ ไล่เรียงมาตั้งแต่ ตูนีเซีย อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ฯลฯ ระบาดไปทั่วภูมิภาคจนมีการเรียกขานปรากฏการณ์นี้ว่า "อาหรับสปริง" หรือการปฏิวัติในประเทศอาหรับ และในที่สุดปรากฏการณ์นี้ก็ขยายวงกว้างมาถึงประเทศซีเรีย เมื่อในวันที่ 15 มีนาคม 2554 กลุ่มประชาชนชาวซีเรียนับหมื่นที่ไม่พอใจรัฐบาลพรรคบะอัษ (Ba'ath) ของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ได้ประท้วงเดินขบวนเรียกร้องให้พรรคบะอัษยุติการปกครองประเทศและประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ต้องลาออกจากตำแหน่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าคนในตระกูลอัล อัสซาด ผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตำแหน่งประธานาธิบดีมานานกว่า 4 ทศวรรษ คือตั้งแต่ปี 2514 พันเอกฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ลูกชายคือประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
เมื่อสถานการณ์การประท้วงทำท่าจะลุกลาม และบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด ในเดือนเมษายน 2554 รัฐบาลก็ได้สั่งการให้กองกำลังความมั่นคงเปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุมในหลาย ๆ เมืองทั่วประเทศ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากหลักสิบพุ่งเป็นหลักร้อย หลักพัน ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ จนองค์การสหประชาชาติ (UN) ต้องออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (EU) ที่ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรซีเรีย ไม่ต่างจากสันนิบาตอาหรับที่สั่งระงับสมาชิกภาพของซีเรีย ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็พยายามกดดันซีเรียเช่นกัน ด้วยการอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศของผู้นำซีเรีย และแกนนำระดับสูงของรัฐบาลซีเรีย 6 คน พร้อมกับเรียกร้องให้ผู้นำซีเรียสละอำนาจโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า รัฐบาลซีเรียจะไม่ได้สนใจต่อเสียงเรียกร้องจากนานาชาติเท่าใดนัก ยังคงเปิดฉากกวาดล้างผู้ชุมนุมอีกหลายครั้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศรัสเซีย และอิหร่าน ขณะที่ประเทศจีนคอยให้ความช่วยเหลือทางการทูต ทำให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ปรากฏตัวผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ย้ำความมั่นใจว่ารัฐบาลของตัวเองจะไม่ถูกโค่นล้มอย่างแน่นอน
ขณะที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ตอนแรกเป็นเพียงการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่เมื่อถูกปราบปรามอย่างหนัก ในที่สุดก็ลุกขึ้นมาจับอาวุธ โดยความร่วมมือกันระหว่างทหารที่แปรพักตร์ อาสาสมัคร และพลเรือนส่วนหนึ่ง หลังจากได้รับการสนับสนุนอาวุธจากประเทศตุรกี และซาอุดีอาระเบีย โดยมีประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี กาตาร์ ให้ความช่วยเหลือทางการทูต
SHAAM NEWS NETWORK / AFP |
เมื่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก้าวเข้ามาร่วมในสงคราม ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์สงครามกลางเมืองเดือดขึ้นเรื่อย ๆ ทางฝ่ายกบฏได้ลอบคาร์บอมบ์ ระเบิดที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่วนฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ก็เดินหน้าถล่มฝ่ายกบฏ พร้อมกับยึดเมืองคืน ขณะเดียวกันที่เป็นปริศนาก็คือ มีกองกำลังไม่ทราบฝ่าย เรียกกันว่า "ชาบีฮา" ซึ่งเป็นกองกำลังชุดดำติดอาวุธได้ทำการสังหารหมู่ประชาชนซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่องไปพร้อม ๆ กัน
เหตุการณ์ลุกลามมาเรื่อย จนถึงในช่วงต้นปี 2556 องค์การระหว่างประเทศได้ออกมาประณามรัฐบาลซีเรียอย่างกว้างขวาง หลังจากได้จับกุมผู้ประท้วงหลายหมื่นคนไปทรมานอย่างหนักในเรือนจำของรัฐ รวมทั้งประณามฝ่ายต่อต้านที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 สหประชาชาติประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามซีเรียที่กินเวลามาเกือบ 2 ปี สูงกว่า 70,000 คน ราวครึ่งหนึ่งเป็นพลเรือน ผู้สูญหายอีกหลายหมื่นคน ขณะที่มีประชาชนชาวซีเรียกว่า 1.4 ล้านคน ขอลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ฝั่งนานาชาติก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อเหตุการณ์นี้ หลายประเทศในกลุ่มอาหรับประกาศปิดสถานทูตในซีเรีย เพื่อประท้วงรัฐบาลที่สังหารประชาชน ขณะที่องค์การที่เกี่ยวข้องก็ประชุมออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกดดันให้สงครามครั้งเลวร้ายยุติลง แต่ดูเหมือนว่ายิ่งเวลาผ่านไปเท่าใด คำว่า "สันติภาพ" ในประเทศซีเรีย ก็ยิ่งไกลห่างออกไปทุกที การสู้รบยังคงเกิดขึ้นอย่างดุเดือดและต่อเนื่อง แต่ละวันจะมีผู้คนล้มตายจำนวนนับไม่ถ้วน
SAID KHATIB / AFP |
เมื่อประเทศอิสราเอลเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้ ก็ทำให้กลุ่มประเทศสันนิบาตชาติอาหรับอดวิตกกังวลไม่ได้ว่า สถานการณ์จะยิ่งบานปลายขนาดไหน และก็เป็นดังคาด เมื่อกองทัพซีเรียขู่จะเปิดศึกอีกด้านกับอิสราเอล โดยประกาศกร้าวจะตอบโต้อิสราเอลที่ยิงจรวดโจมตีคลังแสงซีเรีย จนทำให้ทหารเสียชีวิต 42 นาย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนทางรัฐบาลอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา กลับมองว่า การที่อิสราเอลส่งจรวดเข้าทำลายอาวุธของกองทัพซีเรีย ถือเป็นสิทธิของอิสราเอลที่จะปกป้องประเทศให้พ้นจากภัยคุกคามของกลุ่มติดอาวุธตามแนวชายแดน
ขณะที่สงครามกลางเมืองในซีเรียก็ยังดำเนินต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าจะสงบลง กระทั่งปรากฏเป็นข่าวช็อกโลกในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 เมื่อกองทัพซีเรียทิ้งระเบิดปราบกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลในเมืองกัวตาห์ ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น จนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,300 คน ในจำนวนนี้มีทั้งเด็ก สตรี และคนชรา โดยภาพของศพนับพันที่นอนกันเรียงรายกลายเป็นภาพโศกนาฏกรรมอันน่าหดหู่ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก
SHAAM NEWS NETWORK / AFP |
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้กลุ่มแนวร่วมแห่งชาติซีเรียและนักเคลื่อนไหวออกมาประณามรัฐบาลที่โจมตีประชาชนด้วยอาวุธเคมี และแก๊สพิษซาริน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ทางการได้รีบออกมาปฏิเสธโดยทันที ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนก็เชื่อว่าอาจจะเป็นฝีมือของมือที่สามเข้ามาแทรกแซงก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สหประชาชาติ และนานาชาติ ต่างพากันเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียอนุญาตให้คณะผู้ตรวจสอบการใช้อาวุธเคมีของสหประชาชาติเข้าถึงพยาน และเหยื่อได้อย่างอิสระ โดยไม่มีการแทรกแซงหรือปั้นแต่งหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ให้กระจ่างชัด
ที่มา :สงครามซีเรีย...ย้อนปมความขัดแย้งสู่สมรภูมิเลือด โดย กระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก : AFP
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556
สงครามเวียดนาม
สงครามเวียดนาม เป็นข้อพิพาททางทหารยุคสงครามเย็นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรคอมมิวนิสต์เป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งได้รับการสั่งการจากเวียดนามเหนือ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ กำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความได้เปรียบทางอากาศและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ
รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา (containment) ที่ใหญ่กว่า
รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มต้นสู้กับฝรั่งเศส
โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้
ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่
พ.ศ.2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าใน
พ.ศ. 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา หน่วยรบของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่
พ.ศ. 2498 ปฏิบัติการเกิดขึ้นข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ
โดยลาวและกัมพูชาถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐถึงขีดสุดใน พ.ศ. 2511 ขณะเดียวกับการรุกตรุษญวน หลังจากนี้
กำลังภาคพื้นดินของสหรัฐค่อย ๆ ถูกถอนออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่เรียกว่า การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) แม้จะมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสโดยภาคีทุกฝ่ายเมื่อเดือนมกราคม
พ.ศ. 2516 แล้ว แต่การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป
การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church
Amendment) ที่ผ่านโดยรัฐสภาสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน
พ.ศ. 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา
สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล
ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย
กำเนิดขบวนการใต้ดิน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการเวียดมินห์
ได้ถือกำเนิดขึ้น โดย โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
ระยะแรกการดำเนินการนั้น เพียงเพื่อหวังว่าจะขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไปเท่านั้น
แต่ครั้งในปี ค.ศ. 1944 พวกเวียดมินห์ได้ตั้งกองบัญชาการกองโจรขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนกำลังและอาวุธจากสหรัฐอเมริกา
แต่กำลังการรบของเวียดมินห์นั้นยังเป็นกองกำลังเล็กๆ
ยังไม่สามารถที่จะไปต่อต้านพวกญี่ปุ่นได้ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป
คือ ญี่ปุ่นได้ปลดอาวุธและขังทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน
จึงเป็นเหตุทำให้ฝรั่งเศสนั้นเสียศักดิ์ศรีไปมาก เพราะขณะเกิดเรื่องนี้
ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงคราม ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวเวียดนามกลุ่มต่างๆ
ที่ดิ้นรนเพื่อเป็นเอกราช ได้เริ่มดำเนินการทันที ซึ่งผู้นำนั้นก็คือ ซึ่งเคยเป็นจักรพรรดิแคว้นอันนัม
ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น "จักรพรรดิแห่งเวียดนาม"
และต่อมาทำให้กลุ่มของสมเด็จพระจักรพรรดิเบาได๋ มีความหวังยิ่งขึ้น
คือ นายพลเดอโกลล์ ได้กล่าวคลุมเครือว่าอยากให้เวียดนามปกครองตนเอง
ซึ่งทำให้พวกชาตินิยมในเวียดนามต่างก็มีความหวังในเรื่องเอกราชโดยสันติวิธียิ่งขึ้นไปอีก
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาได้ทำลายความหวังลงไป
เพราะกลุ่มเวียดมินห์ได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น แต่คำสั่งนี้มีเจตนาแอบแฝง
ไว้เพื่อหวังผลอีกทางหนึ่ง
โดยมีเจตนาหาทางป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสกลับมามีอำนาจในเวียดนามอีก ประกาศเอกราชในเวียดนาม ซึ่งการที่กลุ่มเวียดมินห์นั้นได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น
ได้ผลดีมากในทางภาคเหนือของประเทศ
จักรพรรดิเบาไต๋ได้สละตำแหน่งประมุขของประเทศแล้วจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น
แล้วประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้ ทำให้พวกคอมมิวนิสต์ที่ปะปนอยู่ในหมู่ชาตินิยมเวียดนามสามารถตั้งตนในหมู่คณะชั้นนำของขบวนการปฏิวัติได้อีก ต่างชาติเข้าแทรกแซง ฝรั่งเศสยังมีความพยายามที่จะยึดครองเวียดนามอยู่
แต่โอกาสยังไม่อำนวยเพราะขาดกำลังทหารและพาหนะลำเลียง
แต่เวียดนามก็ยังคงตกอยู่ในสภาพดังเดิม เพราะมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้เข้ามายึดครองแทน
โดยมีอังกฤษเข้ายึดครองภาคใต้ของเวียดนาม จีนคณะชาติยึดครองทางภาคเหนือของเวียดนาม
ชาวเมืองต่างไม่พอใจในการกระทำของอังกฤษ นายพลเกรซี่ย์
ผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษในเวียดนาม ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเขตที่ยึดครอง สำหรับฝรั่งเศสมีทหารจำนวนเล็กน้อยได้มาถึงไซง่อนแล้ว
ไปยึดตึกที่ทำการของรัฐบาล รื้อฟื้นอำนาจของฝรั่งเศสใหม่
ขบวนการผู้รักชาติ
โฮจิมินห์เริ่มเล็งเห็นถึงความเสียเปรียบ พยายามที่จะเอาชนะฝรั่งเศส
ซึ่งกระทำได้ก็โดยการรวบรวมชาวเวียดนามที่มีหัวชาตินิยมไปเป็นพวก และเพื่อเป็นการปกปิดการหนุนหลังคอมมิวนิสต์
พร้อมกับแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็น ขบวนการผู้รักชาติ โดยสั่งยุบพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย
และจัดตั้ง แนวแห่งชาติ ขึ้นแทน
ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน
ดำเนินการอย่างลับๆต่อมาเป็นเวลานาน
ข้อตกลงระหว่างจีนคณะชาติกับฝรั่งเศส
ภาคเหนือของเวียดนาม
เป็นที่มั่นของขบวนการเวียดมินห์แต่มีกองทัพจีนคณะชาติอยู่
ฝรั่งเศสอยากให้จีนคณะชาติถอนตัวไปเพื่อจะได้ปราบพวกเวียดมินห์
และยึดภาคเหนือคืนได้สะดวกขึ้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ฝรั่งเศสจึงได้ตกลงกับเจียงไคเซ็ค
ยอมยกเลิกสิทธพิเศษในจีนเพื่อแลกกับการถอนทหารจีนออกไปจากภาคเหนือของเวียดนาม
โฮจิมินห์พอเข้าใจถึงผลจากข้อตกลงนี้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องปะทะกับฝรั่งเศสและจีน
จึงต้องยอมให้ฝรั่งเศสยึดที่มั่นบางแห่งในภาคกลางและภาคเหนือ เพราะขณะนี้
โฮจิมินห์ ยังไม่พร้อมที่จะรบหรือต่อต้านกับชาติใดๆทั้งสิ้น
พยายามแสวงหาสันติภาพ
ฝรั่งเศสและเวียดมินห์ต่างก็พยายามจะตกลงกันโดยสันติวิธีโดยโฮจิมินห์ยอมให้ฝรั่งเศสเคลื่อนกำลังเข้ายังฮานอยและไฮฟอง
ส่วนฝรั่งเศสก็ตอบแทนด้วยการรับปากว่าจะให้เวียดนามเป็น ประเทศเสรี แต่ผลที่ได้รับจากการตกลงดังกล่าว
ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความยุ่งยากร้ายแรงในเวลาต่อมา กล่าวคือ
การประชุมเจรจากันระหว่าง 2 ประเทศนั้นไม่ลงรอยกันมากขึ้น
เพราะการประชุมส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไม่ได้กล่าวถึงเสรีภาพเลย
ฝรั่งเศสมุ่งที่จะยึดครองด้วยกำลังทหาร ในช่วงเวลานี้ได้เกิดเหตุร้ายในไฮฟองหลายครั้ง
ฝรั่งเศสระดมยิงหมู่บ้านไฮฟองเสียหายมากมาย
ผลจากการกระทำดังกล่าว ทำให้ฝ่ายเวียดมินห์เห็นว่า
การตกลงโดยสันติวิธีกับฝรั่งเศสคงไม่เป็นผล
ดังนั้นจึงได้สั่งเคลื่อนกำลังพลโจมตีกองทหารฝรั่งเศสทั่วประเทศทันทีในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1946
ปัญหาระหว่างฝรั่งเศส - เวียดนาม
เอกราชของเวียดมินห์ที่ชาวเวียดนามแสวงหา
กลายเป็นปัญหาสำคัญทางการเมืองที่สำคัญที่สุด
และเป็นผลทำให้ชาวเวียดนามที่มีหัวปานกลางที่สังกัดกลุ่มชาตินิยม
ซึ่งในระยะแรกคิดจะปรองดองกับฝรั่งเศส โดยจะยอมรับการปกครองของฝรั่งเศสแบบใดแบบหนึ่ง
แล้วต้องสัญญาให้เอกราชที่สมบูรณ์ในภายหลัง แต่ฝรั่งเศสไม่สนใจ
จึ่งทำให้พวกชาตินิยมกลุ่มนี้พยายามจัดตั้ง แนวสหภาพชาตินิยม เมื่อเดือนพฤษภาคม
ค.ศ. 1947 และได้กลายเป็นพลังการต่อต้านที่สำคัญในเวลาต่อมา
ด้วยเหตุดังกล่าว ฝรั่งเศสจึงได้กลายเป็นที่เกลียดชังของพวกชาตินิยมชาวเวียดนาม
แม้แต่พวกไม่เคยต่อต้านฝรั่งเศสและนักการเมืองก็ต้องให้ความร่วมมือกับพวกปฏิวัติ
หรือหนีไปนอกประเทศ ต่อมาในภายหลังฝรั่งเศสได้เสนอต่อเวียดนาม
ให้มีเสรีภาพในวงกรอบแห่งสหภาพฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ให้ความแน่ชัดในทางปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้พวกเวียดมินห์ที่ไม่พอใจฝรั่งเศส
ทำการกวาดล้างชาวเวียดนามด้วยกันเองที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของฝรั่งเศส
ปี ค.ศ. 1948 โงดินห์เตียมได้เสนอให้ฝรั่งเศสยกฐานะเวียดนามขึ้นเป็นประเทศในเครือจักรภพ
แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสก็พยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดของตนด้วยการเชิญเบาไต๋
ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล แต่ก็ไม่เกิดผลดีแก่ฝรั่งเศสแต่อย่างใด
เพราะฝ่ายชาตินิยมหมดความไว้วางใจในฝรั่งเศสเสียแล้ว
นอกจากนี้พวกคอมมิวนิสต์เวียดมินห์
ได้ควบคุมความเคลื่อนไหวของพวกชาตินิยมโดยสิ้นเชิง
และเบาไต๋ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมของประชาชน
การมองข้ามความสำคัญของพลังความรู้สึกทางชาตินิยมของชาวเวียดนาม
และการไม่แสวงหาสันติภาพด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นความผิดพลาดขั้นแรกของฝรั่งเศส
ตลอดจนไม่นึกถึงความสำคัญของความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน
ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยให้ข้าศึกสามารถรวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มเข้าช่วยฝรั่งเศสในการรบกับเวียดมินห์ เมื่อปี
ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปพัวพันกับเวียดนามมากยิ่งขึ้น
ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในด้านการทหาร เศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นด้วย
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 1/2
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 1/2
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 2/2
ที่มา : Cr.NoHumanNoCry http://www.youtube.com/watch?v=_P-6ztLQNVQ
http://www.youtube.com/watch?v=hO6JNLjxmXg
: ภาพข่าวสดและวิกิพีเดีย http://variety.teenee.com/world/33408.html
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
สงครามเกาหลี
สงครามเกาหลี (Korean War) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น ซึ่งเริ่มต้นสู้รบกันเต็มรูปแบบในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลีในวันที่ ๒๕ มิ.ย.๑๙๕๐ จนกระทั่งมีการทำสัญญาสงบศึกกันใน ๒๗ ก.ค.๑๙๕๓ มี ผลลัพธ์ให้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหาร ดินแดนถูกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามเส้นขนานที่ ๓๘ กำลังรบของสหประชาชาติประกอบด้วยทหารจาก สาธารณะรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม คานาดา โคลัมเบีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศส กรีก ลัมเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย เตอร์กี
สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และ เดนมาร์กได้เข้าร่วมโดยส่งเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ไปช่วยเหลือ กำลังรบของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ประกอบด้วย สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี สาธารณะรัฐประชาชนจีน และ สหภาพโซเวียต ในการมองในมุมแคบๆ สงครามเกาหลีเป็นการยกระดับสงครามกลางเมืองเกาหลีที่ทำ การต่อสู้กันระหว่างสองระบอบที่มีมหาอำนาจให้การสนับสนุนจากภายนอก ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะโค่นล้มฝ่ายตรงข้ามโดยผ่านกรรมวิธีทางการเมืองและยุทธวิธีกองโจร หลังจากที่มีการเลือกตั้งอิสระในเกาหลีใต้ในช่วงเดือน พ.ค.๑๙๕๐ และเกาหลีใต้ได้ปฏิเสธความต้องการทางการเมืองของเกาหลีเหนือ กองทัพเกาหลีเหนือได้เคลื่อนพลเข้าโจมตี เกาหลีใต้ใน วันที่ ๒๕ มิ.ย.๑๙๕๐ เพื่อพยายามที่จะรวมชาติเกาหลีซึ่งถูกแบ่งแยกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ปี ค.ศ.๑๙๔๘ แต่ถ้ามองในมุมที่กว้างขึ้นมาอีกก็จะพบว่าความขัดแย้งได้ถูกขยายให้รุนแรงขึ้นโดยการเข้ามาแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามที่ยิ่งใหญ่กว่าสงครามเกาหลีนั่นคือสงครามเย็น สงครามดำเนินไปตั้งแต่ ๒๕ มิ.ย.๑๙๕๐ จนมีการลงนามในสัญญาหยุดยิงกันใน ๒๗ ก.ค.๑๙๕๓
ในเกาหลี สงครามครั้งนี้ถูกเรียกว่า “สงคราม 6.25” ตามวันที่ที่เกิดสงครามมากกว่าที่จะเรียกอย่างเป็นทางการว่า Hanguk Jeonjaeng ซึ่งหมายถึง “สงครามเกาหลี” ในเกาหลีเหนือ ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สงครามปลดกู้ชาติแผ่นดินพ่อ (Fatherland Liberation War)” ในสหรัฐฯเรียกชื่อแบบการเมืองว่า ”ความขัดแย้งเกาหลี (Korean Conflict)” มากกว่าที่จะเรียกว่า "สงคราม" เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องประกาศสงครามโดยรัฐสภา สงครามนี้บางครั้งถูก
สารคดี สงครามเกาหลี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)