สงครามเวียดนาม เป็นข้อพิพาททางทหารยุคสงครามเย็นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรคอมมิวนิสต์เป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งได้รับการสั่งการจากเวียดนามเหนือ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ กำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความได้เปรียบทางอากาศและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ
รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา (containment) ที่ใหญ่กว่า
รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มต้นสู้กับฝรั่งเศส
โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้
ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่
พ.ศ.2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าใน
พ.ศ. 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา หน่วยรบของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่
พ.ศ. 2498 ปฏิบัติการเกิดขึ้นข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ
โดยลาวและกัมพูชาถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก
การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐถึงขีดสุดใน พ.ศ. 2511 ขณะเดียวกับการรุกตรุษญวน หลังจากนี้
กำลังภาคพื้นดินของสหรัฐค่อย ๆ ถูกถอนออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่เรียกว่า การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) แม้จะมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสโดยภาคีทุกฝ่ายเมื่อเดือนมกราคม
พ.ศ. 2516 แล้ว แต่การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป
การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church
Amendment) ที่ผ่านโดยรัฐสภาสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน
พ.ศ. 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา
สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล
ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย
กำเนิดขบวนการใต้ดิน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการเวียดมินห์
ได้ถือกำเนิดขึ้น โดย โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
ระยะแรกการดำเนินการนั้น เพียงเพื่อหวังว่าจะขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไปเท่านั้น
แต่ครั้งในปี ค.ศ. 1944 พวกเวียดมินห์ได้ตั้งกองบัญชาการกองโจรขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนกำลังและอาวุธจากสหรัฐอเมริกา
แต่กำลังการรบของเวียดมินห์นั้นยังเป็นกองกำลังเล็กๆ
ยังไม่สามารถที่จะไปต่อต้านพวกญี่ปุ่นได้ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป
คือ ญี่ปุ่นได้ปลดอาวุธและขังทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน
จึงเป็นเหตุทำให้ฝรั่งเศสนั้นเสียศักดิ์ศรีไปมาก เพราะขณะเกิดเรื่องนี้
ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงคราม ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวเวียดนามกลุ่มต่างๆ
ที่ดิ้นรนเพื่อเป็นเอกราช ได้เริ่มดำเนินการทันที ซึ่งผู้นำนั้นก็คือ ซึ่งเคยเป็นจักรพรรดิแคว้นอันนัม
ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น "จักรพรรดิแห่งเวียดนาม"
และต่อมาทำให้กลุ่มของสมเด็จพระจักรพรรดิเบาได๋ มีความหวังยิ่งขึ้น
คือ นายพลเดอโกลล์ ได้กล่าวคลุมเครือว่าอยากให้เวียดนามปกครองตนเอง
ซึ่งทำให้พวกชาตินิยมในเวียดนามต่างก็มีความหวังในเรื่องเอกราชโดยสันติวิธียิ่งขึ้นไปอีก
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาได้ทำลายความหวังลงไป
เพราะกลุ่มเวียดมินห์ได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น แต่คำสั่งนี้มีเจตนาแอบแฝง
ไว้เพื่อหวังผลอีกทางหนึ่ง
โดยมีเจตนาหาทางป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสกลับมามีอำนาจในเวียดนามอีก ประกาศเอกราชในเวียดนาม ซึ่งการที่กลุ่มเวียดมินห์นั้นได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น
ได้ผลดีมากในทางภาคเหนือของประเทศ
จักรพรรดิเบาไต๋ได้สละตำแหน่งประมุขของประเทศแล้วจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น
แล้วประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้ ทำให้พวกคอมมิวนิสต์ที่ปะปนอยู่ในหมู่ชาตินิยมเวียดนามสามารถตั้งตนในหมู่คณะชั้นนำของขบวนการปฏิวัติได้อีก ต่างชาติเข้าแทรกแซง ฝรั่งเศสยังมีความพยายามที่จะยึดครองเวียดนามอยู่
แต่โอกาสยังไม่อำนวยเพราะขาดกำลังทหารและพาหนะลำเลียง
แต่เวียดนามก็ยังคงตกอยู่ในสภาพดังเดิม เพราะมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้เข้ามายึดครองแทน
โดยมีอังกฤษเข้ายึดครองภาคใต้ของเวียดนาม จีนคณะชาติยึดครองทางภาคเหนือของเวียดนาม
ชาวเมืองต่างไม่พอใจในการกระทำของอังกฤษ นายพลเกรซี่ย์
ผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษในเวียดนาม ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเขตที่ยึดครอง สำหรับฝรั่งเศสมีทหารจำนวนเล็กน้อยได้มาถึงไซง่อนแล้ว
ไปยึดตึกที่ทำการของรัฐบาล รื้อฟื้นอำนาจของฝรั่งเศสใหม่
ขบวนการผู้รักชาติ
โฮจิมินห์เริ่มเล็งเห็นถึงความเสียเปรียบ พยายามที่จะเอาชนะฝรั่งเศส
ซึ่งกระทำได้ก็โดยการรวบรวมชาวเวียดนามที่มีหัวชาตินิยมไปเป็นพวก และเพื่อเป็นการปกปิดการหนุนหลังคอมมิวนิสต์
พร้อมกับแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็น ขบวนการผู้รักชาติ โดยสั่งยุบพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย
และจัดตั้ง แนวแห่งชาติ ขึ้นแทน
ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน
ดำเนินการอย่างลับๆต่อมาเป็นเวลานาน
ข้อตกลงระหว่างจีนคณะชาติกับฝรั่งเศส
ภาคเหนือของเวียดนาม
เป็นที่มั่นของขบวนการเวียดมินห์แต่มีกองทัพจีนคณะชาติอยู่
ฝรั่งเศสอยากให้จีนคณะชาติถอนตัวไปเพื่อจะได้ปราบพวกเวียดมินห์
และยึดภาคเหนือคืนได้สะดวกขึ้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ฝรั่งเศสจึงได้ตกลงกับเจียงไคเซ็ค
ยอมยกเลิกสิทธพิเศษในจีนเพื่อแลกกับการถอนทหารจีนออกไปจากภาคเหนือของเวียดนาม
โฮจิมินห์พอเข้าใจถึงผลจากข้อตกลงนี้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องปะทะกับฝรั่งเศสและจีน
จึงต้องยอมให้ฝรั่งเศสยึดที่มั่นบางแห่งในภาคกลางและภาคเหนือ เพราะขณะนี้
โฮจิมินห์ ยังไม่พร้อมที่จะรบหรือต่อต้านกับชาติใดๆทั้งสิ้น
พยายามแสวงหาสันติภาพ
ฝรั่งเศสและเวียดมินห์ต่างก็พยายามจะตกลงกันโดยสันติวิธีโดยโฮจิมินห์ยอมให้ฝรั่งเศสเคลื่อนกำลังเข้ายังฮานอยและไฮฟอง
ส่วนฝรั่งเศสก็ตอบแทนด้วยการรับปากว่าจะให้เวียดนามเป็น ประเทศเสรี แต่ผลที่ได้รับจากการตกลงดังกล่าว
ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความยุ่งยากร้ายแรงในเวลาต่อมา กล่าวคือ
การประชุมเจรจากันระหว่าง 2 ประเทศนั้นไม่ลงรอยกันมากขึ้น
เพราะการประชุมส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไม่ได้กล่าวถึงเสรีภาพเลย
ฝรั่งเศสมุ่งที่จะยึดครองด้วยกำลังทหาร ในช่วงเวลานี้ได้เกิดเหตุร้ายในไฮฟองหลายครั้ง
ฝรั่งเศสระดมยิงหมู่บ้านไฮฟองเสียหายมากมาย
ผลจากการกระทำดังกล่าว ทำให้ฝ่ายเวียดมินห์เห็นว่า
การตกลงโดยสันติวิธีกับฝรั่งเศสคงไม่เป็นผล
ดังนั้นจึงได้สั่งเคลื่อนกำลังพลโจมตีกองทหารฝรั่งเศสทั่วประเทศทันทีในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1946
ปัญหาระหว่างฝรั่งเศส - เวียดนาม
เอกราชของเวียดมินห์ที่ชาวเวียดนามแสวงหา
กลายเป็นปัญหาสำคัญทางการเมืองที่สำคัญที่สุด
และเป็นผลทำให้ชาวเวียดนามที่มีหัวปานกลางที่สังกัดกลุ่มชาตินิยม
ซึ่งในระยะแรกคิดจะปรองดองกับฝรั่งเศส โดยจะยอมรับการปกครองของฝรั่งเศสแบบใดแบบหนึ่ง
แล้วต้องสัญญาให้เอกราชที่สมบูรณ์ในภายหลัง แต่ฝรั่งเศสไม่สนใจ
จึ่งทำให้พวกชาตินิยมกลุ่มนี้พยายามจัดตั้ง แนวสหภาพชาตินิยม เมื่อเดือนพฤษภาคม
ค.ศ. 1947 และได้กลายเป็นพลังการต่อต้านที่สำคัญในเวลาต่อมา
ด้วยเหตุดังกล่าว ฝรั่งเศสจึงได้กลายเป็นที่เกลียดชังของพวกชาตินิยมชาวเวียดนาม
แม้แต่พวกไม่เคยต่อต้านฝรั่งเศสและนักการเมืองก็ต้องให้ความร่วมมือกับพวกปฏิวัติ
หรือหนีไปนอกประเทศ ต่อมาในภายหลังฝรั่งเศสได้เสนอต่อเวียดนาม
ให้มีเสรีภาพในวงกรอบแห่งสหภาพฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ให้ความแน่ชัดในทางปฏิบัติ
จึงเป็นเหตุให้พวกเวียดมินห์ที่ไม่พอใจฝรั่งเศส
ทำการกวาดล้างชาวเวียดนามด้วยกันเองที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของฝรั่งเศส
ปี ค.ศ. 1948 โงดินห์เตียมได้เสนอให้ฝรั่งเศสยกฐานะเวียดนามขึ้นเป็นประเทศในเครือจักรภพ
แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสก็พยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดของตนด้วยการเชิญเบาไต๋
ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล แต่ก็ไม่เกิดผลดีแก่ฝรั่งเศสแต่อย่างใด
เพราะฝ่ายชาตินิยมหมดความไว้วางใจในฝรั่งเศสเสียแล้ว
นอกจากนี้พวกคอมมิวนิสต์เวียดมินห์
ได้ควบคุมความเคลื่อนไหวของพวกชาตินิยมโดยสิ้นเชิง
และเบาไต๋ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมของประชาชน
การมองข้ามความสำคัญของพลังความรู้สึกทางชาตินิยมของชาวเวียดนาม
และการไม่แสวงหาสันติภาพด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นความผิดพลาดขั้นแรกของฝรั่งเศส
ตลอดจนไม่นึกถึงความสำคัญของความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน
ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยให้ข้าศึกสามารถรวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มเข้าช่วยฝรั่งเศสในการรบกับเวียดมินห์ เมื่อปี
ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปพัวพันกับเวียดนามมากยิ่งขึ้น
ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในด้านการทหาร เศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นด้วย
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 1/2
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 1/2
สารคดี : เวียดนามสงครามหมื่นวัน 2/2
ที่มา : Cr.NoHumanNoCry http://www.youtube.com/watch?v=_P-6ztLQNVQ
http://www.youtube.com/watch?v=hO6JNLjxmXg
: ภาพข่าวสดและวิกิพีเดีย http://variety.teenee.com/world/33408.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น