วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

สงครามอ่าวเปอร์เซีย(Persian Gulf War)

          ภูมิหลัง
          คูเวต เป็นประเทศในกลุ่มอาหรับขนาดเล็ก ตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวเปอร์เซีย ทางเหนือและตะวันตกติดกับอิรัก ทางตะวันออกติดกับอ่าวเปอร์เซีย ทางใต้ติดกับซาอุดิอาระเบีย มีการค้นพบน้ำมันปิโตรเลียมในคูเวต เมื่อ ค.ศ 1930 ในปริมาณมาก ซึ่งประมาณว่า มีปริมาณร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำมันทั้งโลก นับตั้งแต่ ค.ศ.1946 คูเวตเป็นประเทศผู้นำผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกและส่งน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก คูเวตเคยเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษระหว่างค.ศ 1914-1961 เมื่อคูเวตได้รับเอกราชในวันที่ 19 มิถุนายน 1961 รัฐบาลอิรักอ้างสิทธิว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของตนตามหลักเชื้อชาติ ภูมิศาสตร์ และสังคม แต่สันนิบาตอาหรับรับรองเอกราชของคูเวต

ภายหลังสงครามอิรัก-อิหร่านซึ่งกินเวลาถึง 8 ปี ส่งผลให้อิรักบอบช้ำมากจากภาระบูรณะประเทศ อิรักต้องเป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนประมาณ 80,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา ทำให้ฐานะเศรษฐกิจของอิรักทรุดหนัก อิรักมีสินค้าออกหลักคือน้ำมัน ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 99 ของมูลค่าสินค้าออกทั้งหมด อิรักจึงพยายามผลักดันให้องค์การโอเปกกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันและกำหนดราคาน้ำมันเสียใหม่ให้อิรักมีรายได้เพิ่มขึ้น อิรักอ้างว่าการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง เพราะคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ลอบผลิตและขายน้ำมันเกินโควตา นอกจากนี้อิรักยังกล่าวหาว่าระหว่างอิรักทำสงครามกับอิหร่านเป็นเวลา 8 ปี คูเวตได้ขยายพรมแพนล่วงล้ำเข้ามาทางใต้ของอิรัก4 กิโลเมตร เพื่อตั้งค่ายทหารและตั้งสถานีขุดเจาะน้ำมันเป็นการขโมยน้ำมันของอิรัก ยิ่งไปกว่านั้น อิรักทำสงครามกับอิหร่านในนามชาติอาหรับและเพื่อความมั่นคงของชาติอาหรับทั้งมวล จึงสมควรที่คูเวตต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ข้อเรียกร้องที่รุนแรงของอิรัก คือให้คูเวตคืนดินแดนที่รุกล้ำเข้ามา คือ เขต Rumailah oilfield ซึ่งมีน้ำมันอุดมสมบูรณ์และขอเช่าเกาะบูมิยัน กับเกาะวาร์บาห์ ในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อให้อิรักขายน้ำมันผ่านอ่าวเปอร์เซียโดยตรง โดยมิต้องขายน้ำมันทางท่อส่งน้ำมันผ่านซาอุดิอารเบียและตุรกีเช่นเดิม
          สาเหตุ
          กล่าวโดยสรุป เหตุผลที่อิรักบุกคูเวตอย่างสายฟ้าแลบในเดือนสิงหาคม 1990 มีดังนี้
          แรงกดดันจากหนี้สงครามอิรัก-อิหร่าน อิรักจึงต้องการคุมแหล่งน้ำมันของโลกคือ คูเวต เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการผลิตน้ำมันและการกำหนดราคาน้ำมัน อิรักไม่มีทางออกทะเลหรือทางอ่าวเปอร์เซีย เพราะมีเกาะบูมิยันและเกาะวาห์บาห์ของคูเวตขวางทางอยู่ อิรักจึงมิอาจขายน้ำมันโดยตรงแก่เรือผู้ซื้อได้ ทั้งอิรักยังตกลงกับอิหร่านเรื่องการใช้เมืองท่าบัสราผ่านร่องน้ำซัตต์-อัล-อาหรับ ไม่ได้ อิรักและคูเวตมีกรณีพิพาทดินแดน Rumailah Oilfield แหล่งน้ำมันที่สำคัญมาเป็นเวลานานและหาข้อยุติไม่ได้ อิรักจึงถือโอกาสยึดครองคูเวตด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์

          ปฏิกริยาของประเทศต่าง
          ปฏิกริยาของประเทศต่างๆ ที่มีต่อการยึดครองคูเวตของอิรักแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
          สหประชาชาติ ชาติอภิมหาอำนาจ รวมถึงกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก เห็นตรงกันที่ต้องรักษาดุลอำนาจในตะวันออกลาง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ประณามการรุกรานและเรียกร้องให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวตโดยไม่มีเงื่อนไข มติของคณะมนตรีความมั่นคงอันดับต่อมา คือ การประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่อิรักและคูเวต ยกเว้นอุปกรณ์ทางการแพทย์และอาหร เพื่อเหตุผลด้านมนุษยธรรม แต่อิรักก็ไม่ได้ปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ
          กลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
          อิยิปต์ ซีเรีย ซาอุดิอารเบีย เรียกร้องให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต สนับสนุนการเข้ามาของกองกำลังพันธมิตรและถือว่าตนปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ จอร์แดน เยเมน ตูนีเซีย แอลจีเรีย และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ กลุ่มนี้เรียกร้องให้ชาติอาหรับเจรจาหาทางแก้ปัญหากันเอง โดยไม่ต้องให้เป็นภาระขององค์การระดับโลก นอกจากนี้ยังมองว่าการปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติเท่ากับเป็นการรังแกชาวอาหรับด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสหรัฐอเมริกาดำเนินการต่างๆ เพื่อเรียกร้องนานาชาติกดดันให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต ภาพของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน กลายเป็นวีรบุรุษชาวอาหรับที่กล้าท้าทายโลกตะวันตก สาเหตุที่สหรัฐอเมริกามีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงนั้น เพราะอิรักทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง และแสนยานุภาพของอิรักอาจเป็นอันตรายต่ออิสราเอลพันธมิตรที่ดีของสหรัฐอเมริกาในอนาคตอีกด้วย

  Thaigoodview
 ผลของสงคราม
          เมื่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรประเทศต่างๆ ส่งกำลังเข้าไปในซาอุดิอารเบีย เพื่อป้องกันการรุกรานของอิรัก อิรักหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิหร่าน ซึ่งเป็นศัตรูของสหรัฐอเมริกาและเคยเป็นศัตรูของอิรักเองในสงครามอิรัก-อิหร่าน อิรัก-อิหร่านได้ทำการแลกตัวประกันจำนวน 70,000 คน และอิรักได้ถอนทหารของตนออกจากดินแดนของอิหร่าน ซึ่งอิรักยึดครองมาตั้งแต่สงครามอิรัก-อิหร่าน การกระทำของอิรักชี้ให้เห็นว่าอิรักต้องการให้สถานการณ์ด้านอิหร่านสงบ เพื่อไม่ต้องพะวงศึกสองด้าน
          กองกำลังนานาชาติเพิ่มจำนวนเข้าไปในซาอุดิอาระเบียมากขึ้น เป็นครั้งแรกที่สองอภิมหาอำนาจมีความเห็นตรงกันในการแก้ปัญหาการรุกรานคูเวตของอิรัก ส่วนอิรักตอบโต้มติสหประชาชาติด้วยการเพิ่มกำลังเข้าไปในคูเวต อิรักมีศักยภาพทางทหารสูงกว่าประเทศอาหรับอื่นๆ คือ มีทหารประจำการถึง 1 ล้านคนและมีอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงแต่ต้นทุนการผลิตต่ำ อาวุธเหล่านี้อิรักได้รับความช่วยเหลือบ้างจากประเทศยุโรปตะวันตกในช่วงทำสงครามกับอิหร่าน
          สงครามอ่าวเปอร์เซียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 1991 ภายหลังจากประธานาธิบดีจอร์ช บุช แห่งสหรัฐอเมริกาสามารถดำเนินวิธการทางการฑูตให้สหประชาชาติลงมติให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวตโดยเด็ดขาดภายใน 15 มกราคม 1991 มิฉะนั้น กองกำลังพันธมิตรจะใช้มาตรการบังคับด้วยกำลังต่ออิรัก เมื่อครบกำหนดเส้นตาย สหรัฐอเมริกาเปิดฉากโจมตีทางอากาศนในอิรักและคูเวตด้วยยุทธการ พายุทะเลทราย กองกำลังพันธมิตรร่วมมือโจมตีอิรักอย่างต่อเนื่อง อิรักซึ่งอยู่ในฐานะเป็นรองพยายามดึงอิสราเอลเข้าร่วมสงคราม โดยยิงจรวดสกั๊ด (SCUD) โจมตีเมืองเทลอาวีปและเมืองท่าไฮฟา หากอิสราเอลหลงกลตอบโต้อิรัก อิรักก็จะได้ประเทศอาหรับที่เป็นศัตรูกับอิสราเองมาเสริมกำลัง แต่ความพยายามของประธานาธิบดีซัดดัมล้มเหลว เมื่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรสามารถยับยั้งมิให้อิสราเอลใช้กำลังตอบโต้สงครามดำเนินต่อไปด้วยความร่วมมือของฝ่ายพันธมิตร ปฏิบัติการพายุทะเลทราย ได้ดำเนินมาถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1991 หลังจากนั้นกองกำลังพันธมิตรได้เปิดฉากการโจมตีภาคพื้นดินต่ออิรัก ในระยะเวลาเพียง 100 ชั่วโมงกองกำลังพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการยึดคูเวตมาได้สำเร็จในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นั่นเอง หลังจากอิรักยึดครองคูเวตเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
          ข้อควรพิจารณาจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย คือ บทบาทที่เด่นชัดของสหประชาชาติในการระงับกรณีพิพาททั้งวิธีการฑูตและกำลังทหาร รวมทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ มาตรการต่างๆ เหล่านี้สหประชาติาจะเลือกใช้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม บทบาทของสหประชาชาติในสงครามอ่าวเปอร์เซียอยู่ภายใต้การชี้นำของสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจนด้วยเวทีทางการฑูตและการทหารแสดงให้เห็นว่า บทบาทผู้นำโลกของสหรัฐอเมริกาลดความศักดิ์สิทธิ์ลงในสถานการณ์การเมืองโลกปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างประเทศมหาอำนาจเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนั้น ยังแสดงให้เห็นความสำเร็จเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติสามารถออกมติเพื่อลงโทษประเทศสมาชิกที่ละเมิดกฏบัตรด้วยการรุกรานประเทศอื่น ทั้งนี้เป็นผลของการยุติการเผชิญหน้าของสองอภิมหาอำนาจและความจำเป็นของการร่วมมือของประเทศทั้งสอง
แม้สงครามอ่าวเปอร์เซียยุติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1991 แล้วก็ตาม มาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติได้บีบคั้นเศรษฐกิจของอิรักมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนอดอยากขาดแคลนอาหารและยารักษาโรคจนมีสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมและต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ในเดือน พฤศจิกายน 1991นั้น สหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษตรวจสอบอาวุธของอิรัก (unscom) เข้าไปตรวจสอบแหล่งผลิตและที่ซ่อนอาวุธเคมี อาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธชีวภาพของอิรัก เพื่อให้อิรักทำลายล้างอาวุธเหล่านี้ หลังจากนั้นสหประชาชาติจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิรัก
          ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหประชาชาติกับอิรักได้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตั้งแต่อันสคอมถูกส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในอิรักจนถึงปัจจุบัน อิรักจะขัดขวางการทำงานของอันสคอมอยู่เสมอๆ เช่นกัน นอกจากนี้ในเดือนสิงหาคม 1992 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งเขตห้ามบินทางตอนใต้ของอิรักและขยายมายังตอนเหนือเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน 1996 ภายหลังสหรัฐอเมริกาได้โจมตีทางตอนใต้องอิรักอีก เพื่อเป็นการตอบโต้อิรักปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดอย่างรุนแรง

Military

          เมื่อ ค.ศ.1997 อิรักได้ขับไล่ชาวอเมริกันออกจากทีมงานอันสคอมโดยกล่าวหาว่า ชาวอเมริกาคนหนึ่งเป็นสายลับ ซึ่งสหรัฐอเมริกาปฏิบัติคำกล่าวหานี้ การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและอันสคอม กับอิรักได้ตึงเครียดมาตามลำดับ ค.ศ.1998 เมื่ออิรักขัดขวางเจ้าหน้าที่อันสคอม (ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ รวมทั้งไทย) ไม่ให้เข้าไปตรวจสอบอาวุบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน นายโคฟี อันนาม เลขาธิการสหประชาชาติเดินทางไปเจรจากับประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เพื่อยุติการเผชิญหน้าระหว่างอิรักกับสหรัฐอเมริกา อิรักยินยอมให้อันสคอมตรวจสอบอาวุธบริเวณทำเนียบประธานาธิบดี อันสคอมร้องเรียนสหประชาชาติว่าอิรักไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และยังขัดขวางการปฏิบัติงานของอันสคอมอีกด้วย
          การเผชิญหน้าระหว่างอิรักและสหรัฐอเมริกาทวีความรุนแรงมากขึ้น ในเดือนธันวาคม 1998 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเตือนอิรักว่า อาจจะมีการโจมตีอิรักได้ทุกเวลาหากอิรักยังคงขัดขวางการปฏิบัติงานของอันสคอม
          16 ธันวาคม 1998 เจ้าหน้าที่ของอันสคอมต้องเดินทางออกจากอิรักเพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากอิรัก และเช้าตรู่ของวันรุ่นขึ้น ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ได้ส่งกำลังทหารไปยังอ่าวเปอร์เซียร่วมกับกองกำลังทหารอังกฤษเพื่อยิงถล่มอิรักภายใต้ปฏิบัติการชื่อ ปฏิบัติการจิ้งจอกทะเลทรายเป็นเวลา 4 วัน จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส รวมทั้งบรรดาชาติอาหรับอื่นๆ ต่างประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยุติการโจมตีอิรัก ส่วนสมาชิกนาโต ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่างสนับสนุนมาตรการแข็งกร้าวของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
           ปัญหาอิรักคือปัญหาที่ท้าทายบทบาทของสหประชาชาติ ในเวลาเดียวกันก็เป็นปัญหาภาพลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาที่ชี้นำและดำเนินการโดยพลการในนามสหประชาชาติ ถือเป็นการละเมิดกฏบัตรสหประชาชาติและหลักการของประชาคมโลก นายโคฟี อันนาม กล่าวแสดงความรู้สึกของเขาว่า วันนี้เป็นวันที่น่าเศร้าของยูเอ็นและชาวโลก ผมได้ทำทุกสิ่งเท่าที่มีอำนาจหน้าที่สร้างความสงบตามปณิธานของยูเอ็น เพื่อระวังการใช้กำลัง สิ่งนี้ไม่ใช่ของง่าย เป็นกระบวนการเจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา : http://jiab007.wordpress.com   สงครามอ่าวเปอร์เซีย
          http://www.thaigoodview.com/ ปัญหาตะวันออกกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น