สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ลงนามโดย รัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย,
ตุน อับดุล ราซักบิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย, นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์, นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัดคอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความ
เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอย่ดี บนพืน้ ฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ ร่วมกนัจากเจตจำนงที่สอดคล้องกันนี้นำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก ลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน
อาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 หรือ ค.ศ. 2020 โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ในด้านการเมือง ให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEANPolitical-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือภายในปี 2558 หรือ ค.ศ. 2015 โดยได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
สัญลักษณ์และธงของอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem)
การจัดทำเพลงประจำอาเซียน เป็นการดำเนินการตามข้อ 40 ของกฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียน “มีเพลงประจำอาเซียน” ในปี 2551 ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียน ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ซึ่งได้จัดเป็นการแข่งขันแบบเปิดให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่สนใจส่งเพลงของตนเองเข้าประกวด (open competition) โดยมีหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่
1. มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ
2. มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
3. มีความยาวไม่เกิน 1 นาที
4. เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ
5. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
ขอบคุณ คลิปจากWiraphan Chotsaeng
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำ เนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรคือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล(Intergovernmental Organization)จุดเด่นประการหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน คือ การที่ข้อบทต่าง ๆถูกกำ หนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ประชาชนเข้าถึงและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท รวม 55 ข้อย่อย
ที่มา : ประเทศไทยกับอาเซียน.สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ.กรมประชาสัมพันธ์.เมษายน,2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น